วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัดพระธาตุดอยเวา


ประวัติวัดพระธาตุดอยเวา
พระองค์เวาหรือเว้า ผู้ครองเมืองนครนาคพันธ์โยนก เป็นผู้สร้างพระธาตุเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุองค์หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๓๖๔ นับว่าเป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่องค์หนึ่งแต่รองมาจากพระบรมธาตุดอยตุง นอกจากนี้ยังมีหอชมทิวทัศน์ซึ่งสามารถชมทิวทัศน์ในตัวเมืองแม่สาย และจังหวัดท่าขี้เหล็กของประเทศเมียนม่าร์ หรือประเทศพม่า ได้อย่างชัดเจน และยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระสุพรรณกัลยา เดิมทีขุนควักเวา หรือองค์เวา กษัตริย์องค์ที่ 10 วงศ์สิงหนวัติ แห่งนครนาคพันธุ์สิงหนวัติ (เชียงแสนโบราณ) สร้างพระเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุไว้บนดอยเวาแห่งนี้ เมื่อพ.ศ. 296 ตามพระนามของกษัตริย์พระองค์นั้น เมื่อเวลาผ่านมานาน พระธาตุก็ชำรุดหักพังตามอายุไข และมีผู้บูรณะขึ้นใหม่อีกหลายครั้งหลายหน ครั้งสุดท้าย เหลือแต่ซากพระเจดีย์เพียงฐานชั้นล่าง สูงพ้นดินขึ้นมาประมาณ 2 เมตร และถูกขุดเป็นโพรงลึกลงไป
ต่อมานายบุญยืน ศรีสมุทร คฤบดีอำเภอแม่สายแห่งนี้ ร่วมกับพระภิกษุดวงแสง รัตนมณี เชื้อชาติไทลื้อ อยู่ที่เมืองลวง เขตสิบสองปันนา พร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ผู้มีใจศรัทธา บูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง จัดสร้างพระธาตุขึ้นตามแบบล้านนาไทย ออกแบบโดยกรมศิลปากร ในการขุดแต่งรอบๆพระธาตุก่อนบูรณะได้พบพระสาริกธาตุในผะอบหินคำ 5 องค์ ผะอบใหญ่ขนาดไข่เป็ด จึงบรรจุลงในฐานพระธาตุเดิม วางศิลาฤกษ์ ก่อองค์พระธาตุในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2498 มีคณะศรัทธาจากวัดต่างๆในอำเภอแม่สาย เชียงแสน แม่จัน เชียงราย พาน แม่สรวย และฝั่งท่าขี้เหล็กมาร่วม 58 วัด นำเครื่องไทยธรรมมาถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา  คำว่า เวาแปลว่าแมลงป่องช้าง ชะรอยองค์เวา เมื่อทรงพระเยาว์จะชอบขุดรูแมลงป่องช้างเล่น จึงมีพระนามอย่างนั้น
ปัจจุบันนี้ บนพระธาตุดอยเวาได้ตกแต่งให้มีความร่มรื่นมากขึ้น และได้มีการสร้างถนนขึ้น-ลงดอยแล้ว เป็นถนนคอนกรีตอย่างดี  ใช้ได้ทุกฤดูกาล  แต่ทางค่อนข้างชัน  ในปัจจุบันมีประเพณีนมัสการ พระธาตุในทุกๆปี  โดยจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ(ตรงกับเดือน 3 ใต้ คือ วันมาฆบูชา)  และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุในวันสงกรานต์ ของทุกปี มีรูปปั้นแมงป่องช้าง (แมงเวา) ขนาดใหญ่ตั้งเป็นสง่าอยู่ บริเวณลานกว้างทางด้านเหนือขององค์พระธาตุ มีอนุสาวรีย์ของ พระนเรศวรมหาราช พระสุพรรณกัลยา และพระเอกาทศรสประดิษฐานอยู่เคียงข้าง โดยอนุสาวรีย์ทั้ง 3 พระองค์ได้สร้างขึ้นตามความตั้งใจของหลวงปู่โง่น โสรโย แห่งวัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร รวมทั้งมีปราสาทไพชยนต์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประกาศถึงคุณงามความดี และเพื่อสักการะพระอินทร์ (องค์อัมรินทราธิราช) ซึ่งทั้งภาครัฐ และเอกชน คหบดีของอำเภอแม่สาย ฯลฯ

ประวัติหลวงปู่โง่น โสรโย              

   
 หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2447 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เวลา 5.58 น. บนแพกลางลำน้ำปิง บิดาเป็นหัวหน้าล่องแพไม้ซุง มารดาเป็นชาวลำพูน เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี ซาโต้โมมอง เลขานุการข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสประจำอินโดจีนรับตัวเป็นบุตรบุญธรรม และได้ศึกษาที่ต่างประเทศจนจบปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยในเยอรมัน สามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา เดิมนับถือศาสนาคริสต์

ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา โดยได้รับแรงบันดาลใจและเห็นแบบอย่างที่ดีจากครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ท่านได้เคยธุดงค์ผ่านหลายประเทศ ได้ต่อสู้กับอุปสรรคมากมาย ท่านยังได้สร้างพระพุทธวิโมกข์อีกจำนวนมาก ซึ่งนับประมาณมิได้ เพื่อเผยแพร่จรรโลงไว้ในพุทธศาสนา ท่านเป็นพระภิกษุที่ยอมเสียสละทั้งกำลังกายกำลังใจ กำลังทรัพย์ในการทำความดีโดยมิได้หวังสิ่งตอบแทน นับว่าท่านเป็นเกจิมหาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีความมุ่งมั่นสูงมาก ท่านได้มรณภาพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2542 สิริอายุรวม 95 ปี รวม 64 พรรษาเหตุที่นำพระบรมรูปทั้งสามพระองค์มาประดิษฐานบนพระธาตุดอยเวาแห่งนี้ สืบเนื่องมาจากนิมิตรของหลวงปู่โง่น โสรโย ที่ได้แยกกายแฝงสนทนาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยกับพระนางสุพรรณกัลยา วีรสตรีไทยที่ยอมเสียสละชีวิตเพื่อชาติบ้านเมือง และเกิดแรงบันดาลใจ จึงได้อัญเชิญพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาประดิษฐานที่แห่งนี้ ณ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ต่อมาได้อัญเชิญพระบรมรูปของมเด็จพระเอกาทศรถ และพระนางสพรรณกัลยามาประทับเรียงกันสามพระองค์ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และผินพระพักตร์ไปยังประเทศพม่า ที่มีพระบรมรูปของบุเรงนองประทับหันหน้ามายังฝั่งไทย ทั้งนี้เพื่อนให้ทั้งสี่พระองค์ได้ระลึกถึงสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและพม่า ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความรุ่งเรืองสืบมา



ที่มา
https://tourthai2010.wordpress.com/
https://th.foursquare.com
http://www.chillpainai.com/travel/193/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น