วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พระตำหนักดอยตุง



ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านมูเซอลาบา ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย บริเวณสันเขาของเทือกดอยนางนอน ระดับความสูงประมาณ 1,200 ม. เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาดอยตุง

ประวัติ
       พระตำหนักดอยตุงเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2530 เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มี พระชนมายุ 88 พรรษา โดยก่อนหน้านั้นมีพระราชกระแสว่า หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ จึงได้เลือกดอยตุง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม ขณะเดียว กันสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เมื่อทรงทอดพระเนตรพื้นที่ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2530 ก็ทรงพอพระราชหฤทัย และมีพระราชดำริจะสร้างบ้านที่ดอยตุงพร้อมกันนี้ ยังมีพระราชกระแสรับสั่งว่าจะ ปลูกป่าบนดอยสูงจึงกำเนิดเป็น โครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น โครงการพัฒนาดอยตุงเริ่มดำเนินการโดยความร่วมมือจากหน่วยราชการทุกส่วน เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน หน่วยงานด้านปกครอง นอกจากทำการปลูกป่าฟื้นฟูสภาพพื้นที่แล้วยังมีการฝึกอาชีพ เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเขาบนดอยตุง ซึ่งประกอบด้วยชาวเขาเผ่าอาข่าลาหู่ ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ ขณะเดียว กันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้

สถานที่ภายในพระตำหนัก
            1. หอพระราชประวัติ
 ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าสุดของพระตำหนัก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า ภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆ แปดห้อง ดังนี้
·         ห้องแรก แผ่นดินไทยฟ้ามืด กล่าวถึงการเสด็จถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2539
·         ห้องที่ 2 ฉันจะเดินทางด้วยเรือลำนี้ แสดงถึงปรัชญาในการดำเนินพระชนม์ชีพ ที่ประกอบด้วยหลักเหตุผล และการสร้างสรรค์ทางศิลปะ
·         ห้องที่ 3 ภูมิธรรม ประมวลความสนพระทัยในหลักธรรมคำสั่งสอน
·         ห้องที่ 4 หนึ่งศตวรรษ เป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า และเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปีแห่งการพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. 2443 ทั้งนี้ ทรงพระปรีชาชาญ ในการอภิบาลพระธิดา และพระโอรสที่ต่อมาได้เถลิงถวัลย ราชสมบัติ เป็น พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ รวมทั้งทรงนำความรู้ใหม่ๆ มาใช้ในงานบำบัดทุกข์บำรุงสุข ของพสกนิกร จนองค์การยูเนสโก ได้ประกาศพระนามในปฏิทินบุคคลสำคัญของโลก
·         ห้องที่ 5 เวลาเป็นของมีค่า กล่าวถึงงานฝีมือต่างๆ ของพระองค์ที่ใช้พระราชทานแก่บุคคลต่างๆ
·         ห้องที่ 6 พระมารดาแห่งการแพทย์ชนบทและการสาธารณสุขไทย
·         ห้องที่ 7 พระผู้อภิบาล บรรยายถึงความเป็นพระผู้อภิบาลธรรมชาติ
·         ห้องที่ 8 ดอยตุงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวถึงโครงการพัฒนาดอยตุงที่เป็นโครงการพัฒนาระยะยาว เน้นการ อนุรักษ์ธรรมชาติและคุณภาพชีวิตของประชาชน

  2.สวนแม่ฟ้าหลวง
เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาว ในหุบเขา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เดิมมีพื้นที่ 12 ไร่ มีการปลูกดอกไม้หมุนเวียนสลับ ให้ออกดอกไม่ซ้ำกันตลอดสามฤดู ล้อมรอบประติมากรรมชื่อ "ความต่อเนื่อง" เป็นรูปเด็กยืนต่อตัวที่กลางสวน นอกจากนี้ ยังจัดแต่งสวนหินซึ่งประดับด้วยหินภูเขากลมเกลี้ยงขนาดใหญ่ สวนน้ำอุดมด้วยไม้น้ำพันธุ์ต่างๆ บัว และสวนปาล์มที่รวบ รวมปาล์มไว้มากมายในพื้นที่ 13 ไร่ สวนแม่ฟ้าหลวงจึงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 25 ไร่





3. อาคารพระตำหนักดอยตุง
โดยลักษณะการก่อสร้าง เป็นการผสมผสานระหว่าง สถาปัตยกรรมล้านนา บ้านปีกไม้ และบ้านแบบพื้นเมือง ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มี ๒ ชั้น และชั้นลอยที่ประทับ ชั้นบนแยกเป็น ๔ ส่วน ทว่าเชื่อมเป็นอาคารหลังเดียวกัน เสมอกับลานกว้าง ของยอดเนินเขาภายในประกอบด้วย ชั้นบนที่แยกออกเป็น ๔ ส่วนนั้น ได้แก่ ที่ประทับของ สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี ซึ่งประกอบด้วยห้องพระโรง และห้องเตรียมพระกระยาหาร นอกจากนี้ เป็นห้อง ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยฯ และที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้นล่าง ซึ่งสร้างให้เกาะไปตามไหล่เขา ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่อยู่ของข้าราชบริพาร ด้านนอกพระตำหนัก มีเชิงชายไม้แกะสลัก เป็นลายพื้นเมือง เรียกว่า ลายเมฆไหล เหนือหลังคามี กาแลลงรักปิดทอง ๑๔ คู่ แยกเป็นลาย พรรณพฤกษาแบบล้านนา ๒ คู่ อีก ๑๒ คู่ เป็นลวดลายพฤกษา สลับกับสัตว์ทั้ง ๑๒ ราศี อันเป็นตัวแทน ของแต่ละปีในรอบนักษัตร นอกจากนี้ ที่บานพระทวารเข้าพระตำหนัก มีลวดลายรูป พระอาทิตย์ฉายแสง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของพลังอันแก่กล้า เหนือบานประตูเป็น ภาพต้นไม้ทิพย์ และหมู่วิหค ทางมุมซ้ายเป็นรูปนกเค้าแมว คอยดูแลสอดส่อง มิให้สิ่งชั่วร้ายเล็ดลอด เข้าไปในพระตำหนักได้ ที่กรอบทวารมีข้อความว่า สรีสวัสสดี พุทธศักราช ๒๕๓๑ อนึ่ง บนหลังคาพระตำหนัก มีท่อน้ำฝนทำ จากเครื่องปั้นดินเผาชนิด ไม่เคลือบ รูปหัวเหรา ปลา กบ สลับกับพญานาค ภายในพระตำหนัก ใช้ไม้สนภูเขาบุผนัง พื้นเป็นไม้สักทอง ซึ่งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ น้อมเกลาฯ ถวาย สำหรับผนัง ในท้องพระโรง ประดับด้วย ภาพวาดสีน้ำมันขนาดใหญ่ ๓ ภาพ ภาพแรกชื่อ ตำนานดอยตุง ศิลปินคือ นายปัญญา ไชยะคำ สองภาพหลังชื่อ ยามตะวันชิงพลบ และ ดอยตุงยามราตรีสงัด ฝีมือของนาย บรรณรักษ์ นาคบรรลังค์ ส่วนของเพดานท้องพระโรง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมาคมดาราศาสตร์ แห่งประเทศไทย ออกแบบแกะสลัก เป็นสุริยจักรวาล ประกอบด้วย กลุ่มดาวในระบบสุริยะเรียงราย กันไปตามองศา ของวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ อันเป็นวันพระราชสมภพ รวมทั้งรูปดาวนพเคราะห์ กลุ่มต่างๆ ซึ่งทรงเลือกมารวบรวมไว้ ด้วยพระองค์เอง ฝาผนังท้องพระโรงด้านหนึ่ง บุด้วยผ้าปักรูปดอกไม้นานาพันธุ์ บนผ้าไหม ซึ่งชาวบ้านอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ น้อมเกล้าฯ ถวาย ส่วนอีกด้านหนึ่ง แขวนผ้าปักครอสติสรูปดอกไม้ จากฝีพระหัตถ์ของพระองค์ บริเวณด้านหน้าของพระตำหนัก ยังมีสวนดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ เรียกว่า สวนแม่ฟ้าหลวง มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่ ออกแบบรูปทรง เป็นลายผ้าพื้นเมืองเหนือด้วยการปลูกไม้ดอกเมืองหนาว หลากหลายพันธุ์ เปิดให้ประชาชนเข้าชม ได้โดยเก็บค่าบำรุง


      4. พระธาตุดอยตุง พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำปีกุน
พระบรมธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของเชียงราย ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยตุง ในเขตกิ่งอำเภอ แม่ฟ้า หลวง มีถนนแยกจากบ้านห้วยไคร้ขึ้นไปจนถึงองค์พระบรมธาตุองค์พระธาตุบรมธาตุเจดีย์ อยู่สูงจากระดับ น้ำทะเล ประมาณ 2000 เมตร ตามตำนานมีว่า เดิมสถานที่ตั้งพระบรมธาตุดอยตุง มีชื่อว่า ดอยดินแดง อยู่บน เขาสามเส้น ของพวกลาวจก ต่อมาสมัยพระเจ้าอุชุตะราช รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวัต ผู้ครองนครโยนก นาคนคร เมื่อปี พ.ศ. 1452 พระมหากัสสป ได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวายซึ่งตรงตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่าที่ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐาน พระมหาสถูปบรรจุ ุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้าพระเจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจก มาเฝ้าพระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก แล้วทรงสร้าง พระสถูปขึ้น โดยนำธง ตะขาบยาว 3000 วา ไปปักไว้บนดอยมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใด้ ให้กำหนดเป็นฐาน พระสถูปเพียงนั้นดอย ดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง) เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จก็ได้นำ พระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวบรรจุบรรจุไว้ให้คนสักการะบูชา ต่อมาสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช แห่งราชวงศ์ลาวจก พระมหาวชิระโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย จำนวนองค์ พระเจ้าเม็งรายจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระ สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่ง เหมือนกับพระสถูปองค์เดิมทุกประการ ตั้งคู่กัน ดังปรากฏอยู่จน ถึงทุกวันนี้ ชาวเชียงรายมีประเพณีการเดิน ขึ้นดอยบูชาพระธาตุ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี สิ่งที่น่าสนใจ : พระธาตุดอยตุง เป็นเจดีย์สีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 ม. บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่า เป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุง บูชาพระธาตุ เมื่อ 1,000 ปีก่อน


5.อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง


อุทยานศิลปะวัฒนธรรมล้านนา เดิมชื่อ ไร่แม่ฟ้าหลวง เพื่อเป็นสถานที่ทำการของมูลนิธิผลผลิตชาวเขาไทย ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการผู้นำเยาวชนชาวเขา (Hill Tribe Youth Leadership) โดยการนำเยาวชนชาวเขาจากหมู่บ้านห่างไกลคมนาคม มาอยู่รวมกันแบบครอบครัวที่ไร่แม่ฟ้าหลวง มอบทุนพระราชทานเพื่อเล่าเรียน และอบรมเรื่องการอยู่ร่วมกับผู้อื่น พึ่งพาตนเอง รับผิดชอบในการงาน ตรงต่อเวลา และมีความซื่อสัตย์ ที่นี่เองคือ บ้านใหม่ของเยาวชนชาวเขาไทยผู้มาอยู่ร่วมกันเพื่อเรียนรู้การใช้ชีวิตและฝึกงานตามแนวพระราชดำริ ก่อนจะเติบโตแยกย้ายกันไปประกอบสัมมาชีพตามอัธยาศัย โครงการสิ้นสุดลงเมื่อการศึกษาได้ขยายเข้าไปในพื้นที่ห่างไกล เยาวชนได้มีโอกาสเรียนในโรงเรียนใกล้หมู่บ้าน ไร่แม่ฟ้าหลวงจึงเปลี่ยนเป็น อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง สถานที่เก็บรักษางานพุทธศิลป์เก่าแก่ โบราณวัตถุอายุนับศตวรรษ สถาปัตยกรรมล้านนา ศิลปวัตถุรังสรรค์จากไม้สัก และให้ความรู้เกี่ยวกับมรดกล้านนาในปัจจุบัน พื้นที่ 150 ไร่ของอุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวงประกอบด้วยสถานที่ที่น่าสนใจมากมาย อาทิเช่น หอคำ





6.ลานพระรูปปั้นแม่ฟ้าหลวง
พระรูปปั้นแม่ฟ้าหลวง เป็นพระรูปสัมฤทธิ์ (บรอนซ์) ขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง เป็นผลงานของประติมากรหญิง คุณมิเซียม ยิบอินซอย ศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาจิตรกรรม (พ.ศ. 2494) คนแรกของประเทศไทย ประดิษฐานบนเนินในสนาม ระหว่างเส้นทางสู่หอคำน้อย พระอิริยาบถประทับนั่งบนก้อนหิน ฉลองพระองค์ชุดตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ทรงพระมาลา เป็นภาพคุ้นตาราษฎรที่ได้เห็นสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงฉลองพระองค์ทะมัดทะแมง ทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ห่างไกลกันดาร เสด็จลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ราษฎรพากันขนานพระนาม แม่ฟ้าหลวง

7.หอคำน้อย
หอคำน้อย อยู่ทางทิศใต้ของหอคำ เป็นอาคารศิลาแลงหลังคาแป้นเกล็ดไม้สัก เป็นสถานที่เก็บภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนสีฝุ่นบนกระดานไม้สัก จากวัดเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่


ที่มา
http://www.thai-tour.com/thai-tour/north/chiangrai/data/place/pic_pratamnak2.htm
http://www.oceansmile.com/N/Chiarai/DoiTung.htm
http://www.pornpitaktour.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539335863&Ntype=15

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น