วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

น้ำตกห้วยแก้ว



พื้นที่ป่าสำรวจอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้ายและป่าแม่กกฝั่งขวา ท้องที่บ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 7 และบ้านผาเสริฐ หมู่ที่ 6 ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ระหว่างละติจูดที่ 9 องศา 55 ลิบดาเหนือ ถึงละติจูดที่ 19 องศา 58 ลิบดาเหนือ ลองติจูดที่ 93 องศา ลิบดาตะวันออก ถึงลองติจุดที่ 93 องสา 41 ลิบดาตะวันออก อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (โซน C ตามแผนที่ ZONING) เนื้อที่ป่าสำรวจและจัดตั้งเป็นวนอุทยานประมาณ 4,700 ไร่ กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2540
          น้ำตกห้วยแก้วเป็นน้ำตกขนาดกลางในเทือกเขาดอยช้าง บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเหลี่ยมเป็นบ่อน้ำร้อนขนาดใหญ่ริมน้ำแม่กก ทั้งสองแห่งมีทิวทัศน์สวยงามมาก เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงราย ทุก ๆ ปีจะมีนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายและต่างจังหวัดรวมทั้งนักท่องเที่ยวต่าง-ชาติมาเที่ยวชมสถานที่แห่งนี้เป็นจำนวนมาก แต่สถานที่แห่งนี้ยังไม่ได้รับการจัดการดูแลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม และนักท่องเที่ยวไม่ได้รับความสะดวก ความปลอดภัย สำนักงานป่าไม้เขตเชียงรายได้พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและให้สถานที่แห่งนี้ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนความอำนวยสะดวกแก่นักท่องเที่ยว จึงได้มีคำสั่งป่าไม้เขตเชียงราย ที่ 111/2540 ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2540 ให้นายจุมพล วนธารกุล นักวิชาการป่าไม้ 6ว ออกไปสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ป่าบริเวณน้ำตกห้วยแก้ว - บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเหลี่ยม ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อจัดตั้งเป็นวนอุทยาน
ลักษณะภูมิประเทศ
           เป็นภูเขาสูงในเทือกเขาดอยช้าง สูงจากระดับน้ำทะเล 420 เมตรถึง 1,113 เมตร มีความลาดชันเฉลี่ยทั่วพื้นที่ประมาณ 40 เปอร์เซนต์
อาณาเขต
         ทิศเหนือ         จด น้ำแม่กก
         ทิศใต้         จด บ้านห้วยแก้ว
         ทิศตะวันออก จด สันเขาและบ้านโป่งน้ำร้อน
         ทิศตะวันตก จด ห้วยผาเคียวและสันเขา
ลักษณะภูมิอากาศ
           เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝนและลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดูคือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์
ชนิดของป่า
           เป็นป่าดิบแล้ง มีป่าดิบเขาบ้างบริเวณยอดเขาสูง สภาพป่าโดยทั่วไปยังสมบูรณ์พันธุ์-ไม้สำคัญ ได้แก่ ยาง แดงน้ำ เติม ยมหอม ยมหิน ก่อ จำปีจำปา จำปาป่า ตะคร้อ ทะโล้ ทองหลาง มะไฟ พระเจ้าห้าพระองค์ มะแฟน ส้านใหญ่ มะเกลือ ตะแบก ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน หว้า ลำใยป่า สองสลึง มะม่วงป่า เคี่ยมคะนอง มะค่าโมง พันธุ์ไม้พื้นล่างที่สำคัญได้แก่ ไผ่หก ไผ่ซาง ไผ่เฮียะ ไผ่ไร่ ขิง ข่า เฟรินส์
สัตว์ป่าและที่อยู่อาศัย
            มีสัตว์ป่าที่พบเห็นอยู่ในพื้นที่ที่สำรวจและบริเวณใกล้เคียงดังนี้

    • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ เก้ง หมูป่า อีเห็น แมวป่า เสือไฟ กระจง ชะมด บ่าง เม่น พังพอน กระต่ายป่า ค้างคาว กระรอก กระแต อ้น หนู
    • นก ได้แก่ นกเหยี่ยว นกกระสา นกกระราง นกเค้าแมว นกแขวก นกกระปูด นกกระทาดง นกเขา นกกางเขนป่า นกหัวขวาน นกฮูก นกกระเต็น นกเอี้ยง นกตะขาบ นกปรอด ไก่ป่า ไก่ฟ้า
    • สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้แก่ ตะพาบ เต่าปูลู กบ เขียด คางคก อึ่งอ่าง ปาด
    • สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่า จิ้งเหลน แย้ ตะขาบ แมลงป่อง กิ้งกือ ทาก    ปลา ได้แก่ ปลาแคร่ ปลาเค้า ปลาแก้ม ปลาบู่ ปลาก้าง ปลาขาว ปลาซิว ปลาข้างลาย



      ที่มา 
      http://www.dnp.go.th/MainNation/Widepark/_private/v36_Numtokhuaykeaw.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น