วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ถนนคนเดินเชียงราย

ประวัติถนนคนเดินเชียงราย
เทศบาลนครเชียงรายจัดถนนคนเดินเชียงราย“กาดเจียงฮายรำลึก”
     จังหวัด เชียงรายร่วมกับเทศบาลนครเชียงราย จัดโครงการถนนคนเดินเชียงราย “กาดเจียงฮายรำลึก”   เชิญชวนนักท่องเที่ยวและประชาชนร่วมสัมผัสวิถีชีวิตแบบล้านนาในอดีต ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและสินค้าของดีของเชียงราย กำหนดเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 และทุกวันเสาร์ของเดือน ณ  ถนนธนาลัยตั้งแต่สี่แยกสำนักงานยาสูบฯ ไปจนถึงสี่แยกธนาคารออมสิน
นาย สมพงษ์  กูลวงค์ นายกเทศมนตรีนครเชียงราย กล่าวถึงที่มาของการจัดงานถนนคนเดินเชียงราย “กาดเจียงฮายรำลึก” ว่า ตามวิสัยทัศน์ของเทศบาลนครเชียงราย “นครเชียงรายเมืองน่าอยู่ ประตูสู่สากล” เราจึงมุ่งเน้นการส่งเสริมอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานสากล  จึงมีแนวคิดการจัดทำโครงการถนนคนเดินเชียงรายหรือ “กาดเจียงฮายรำลึก” ขึ้นเพื่อใช้เป็นลานแสดงสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมถนนคนเดิน เป็นแนวทาง  การพัฒนาเมืองและกำหนดการใช้พื้นที่เมืองให้สอดคล้องกับวิถี ชีวิตชุมชนเป็นแนวทางพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตเมืองให้กลายเป็นที่ รู้จักในฐานะแหล่งรวมงานศิลปะ วรรณศิลป์  จิตรกรรม ฯลฯ  สร้างเมืองเชียงรายให้เป็น  “เมืองแห่งวัฒนธรรมล้านนา”  เปี่ยมด้วยมนต์เสน่ห์และความรุ่งเรือง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติแวะมาเยี่ยมเยือนจังหวัด เชียงราย  พร้อมผลักดันยุทธศาสตร์ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย ประชาสัมพันธ์เผยแพร่วิถีชีวิต  ศิลปวัฒนธรรม  สถานที่ท่องเที่ยว สินค้าพื้นเมือง และผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดเชียงรายสร้าง กิจกรรม  เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเมืองอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน  มีสถานที่จำหน่ายสินค้า  มีรายได้เพิ่มขึ้น และสำหรับการจัดแบ่งพื้นที่ของถนนคนเดินเชียงราย ซึ่งจะมีการจัดพื้นที่อย่างยิ่งใหญ่ถึง 3 โซน ดังนี้
  • ถนนคนเดินเชียงราย โซนที่ 1 เริ่มตั้งแต่ สี่แยกธนาคารออมสิน – สี่แยกศาลจังหวัด เป็นโซนที่จัดให้เป็นแหล่งรวมของชุมชน OTOP ชั้นนำของเชียงรายกว่า 700 ร้านค้า  ร้านสินค้าโครงการหลวง  สินค้าและผลิตภัณฑ์ชาวเขาที่ถนนคนเดินเชียงราย
  • ถนนคนเดินเชียงราย โซน ที่ 2 เริ่มจากสี่แยกศาลจังหวัด – สี่แยกสวนตุงและโคม มีการจำหน่ายสินค้างานทำมือ  และหัตถกรรม งานฝีมือทั้งจากเยาวชนและประชาชน  และบริเวณหน้าสวนตุงโคมฯ จัดให้มีลานกิจกรรมข่วงผญ๋า ซึ่งเป็นลานการแสดงภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนเชียงรายที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน เช่น หมอเมือง ฟ้อนตีมะผาบ ตีกลองสะบัดชัย เป็นต้น ก็มีที่ถนนคนเดินเชียงราย

– ถนนคนเดินเชียงรายบริเวณถนนด้านข้างสวนตุงของ (ทิศตะวันตก)   กิจกรรมสปาและนวดแผนไทยและสมุนไพรไทยรวมกว่า 300 ร้านค้าและจุดบริการ
  • ถนนคนเดินเชียงราย โซน ที่ 3 เริ่มต้นสี่แยกสวนตุงและโคม – สี่แยกสำนักงานยาสูบ มีการแสดงนิทรรศการต่างๆ  ของภาครัฐและเอกชน  จำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด และของตกแต่งบ้านที่สวยงาม

-ถนนคนเดินเชียงราย บริเวณ สนามบาสเก็ตบอล  และถนนด้านข้างสวนตุง  มีกิจกรรมลานอาหารเครื่องดื่ม และกาดหมั้วคัวแลง  ทุกท่านจะได้มีโอกาสชิมอาหารตำรับดั้งเดิมของเชียงราย (ของกิ๋นบ๋าเก่า) เช่น ไข่ป่าม   แก๋งกระด้าง    ข้าวงาปิ้ง ข้าวควบอ้อยส้อม เป็นต้น
สำหรับ บรรยากาศในงานถนนคนเดินเชียงรายนั้น  จะตกแต่งบริเวณงานด้วยโคมไฟแบบล้านนาและตุงทอ ซึ่งจะสะท้อนเอกลักษณ์ของเชียงรายให้งดงามและน่าชื่นชมมากขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกได้ถึงบรรยากาศแบบล้านนา ในสมัยก่อน และเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อนนั้น เทศบาลได้กำหนดให้ผู้จำหน่ายสินค้าและอาหาร  ในถนนคนเดินเชียงรายในแต่ละโซน ให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ใช้ถุงกระดาษ ถ้วยชามที่ทำจากใบตอง  ตะกร้าไม้ไผ่และลดการใช้ถุงพลาสติก เป็นต้น
การ กำหนดพิธีเปิดถนนคนเดินเชียงราย “กาดเจียงฮายรำลึก” ทางคณะกรรมการจัดงานได้กำหนดเปิด  ในวันเสาร์ ที่  1 พฤศจิกายน 2551 นี้ ณ บริเวณสวนตุงโคม เฉลิมพระเกียรติฯ อย่างยิ่งใหญ่อลังการ ด้วยการรวบรวมของดี ศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของเชียงราย เพื่อสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมจังหวัดเชียงราย โดยในพิธีเปิดนั้น จะมีการแสดงแบบล้านนา เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมา วิถีชีวิตของ  ชาวล้านนาโบราณ   โดยในการแสดงจะมีการสอดแทรกศิลปะวัฒนธรรมที่น่าสนใจและสร้างความประทับใจให้ กับผู้ชม อาทิ ขบวนอันเชิญเครื่องสักการะต่างๆ รวมทั้งชุดการแสดงศิลปะ เช่น การฟ้อนรำ การตีกลองสะบัดชัย   เชื่อว่าจะสร้างความประทับใจให้กับทุกท่านในวันเปิดงาน พร้อมกันนี้ ยังได้จัดมีชุดการแสดงต่างๆ ไว้อย่างมากมายตลอดงานถนนคนเดินเชียงราย
สำหรับทางด้าน สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า การจัดงานถนนคนเดินเชียงราย  “กาดเจียงฮายรำลึก” หรือถนนคนเดินเชียงราย จะเป็นการดึงเอาศักยภาพของจังหวัดเชียงรายที่เป็นต้นแบบของความเป็นล้าน นา    อันทรงคุณค่าออกมาสู่สายตานักท่องเที่ยว ซึ่ง ททท. พร้อมให้การสนับสนุน และถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญ    ที่จะสร้างความสนใจให้กับนักท่องเที่ยวและดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาสู่ จังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะในช่วงที่ถือว่าเป็นการเริ่มต้น “ฤดูท่องเที่ยวเชียงราย” ซึ่งนอกจากนักท่องเที่ยวจะได้มาสัมผัสบรรยากาศของฤดูหนาวที่เชียงราย และท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งด้านประวัติศาสตร์และสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามแล้ว กิจกรรมการจัดถนนคนเดินเชียงรายนี้ ก็จะเป็นแหล่งรวมของฝากของกิน ที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตของคนล้านนาแบบดั้งเดิมอย่างแท้ จริงที่ถนนคนเดินเชียงราย

ความน่าสนใจ
ของถนนคนเดินเชียงราย หรือ กาดเจียงฮายรำลึก  Lanna Shopping
อาหารพื้นเมือง(ของกิ๋นปื้นเมือง) เช่น ลาบจิ้น,ผักกาดจอ,น้ำพริกอ่อง,แก๋งบ่ะหนุน,แก๋งอ่อม,น้ำเงี้ยว,ขนมเส้นน้ำยา เป็นต้น


อาหารของหวาน(ข่ะหนม) เช่น ข้าวจี่,อ้อยควั่น,ข้าวตัง,ข้าวเกรียบปากหม้อ,ไอศครีมนมสด เป็นต้น


การละเล่น เช่น ฟ้อนโชว์ ซอปื้นเมือง(เวียงชัย) แสดงดนตรีปื้นเมือง ประกวดร้องเพลง แต่มี่เด็ดสุดๆ สำหรับคนย้อนยุค คือ การรำวงย้อนยุค เพลงที่ได้รับความนิยมคือ สาละวันรำวง เป็นต้น
เด็ดแบบไม่มีที่ไหน คือ หุ่นนิ่ง เป็นคนจริงๆที่ใส่ชุดสีสาวยืนแน่นิ่งให้คนที่มาเที่ยวได้เพ้นท์กัน อยู่ตรงสี่แยกสวนตุงและโคม
บางคนก็ทึ่งในความสามารถก็ให้เงินบ้าง บางคนชอบใจก็ถ่ายรูปไว้ แน่ที่น่าสงสัย คือ และทุกคนต่างถามกันมากคือ “คนหรือหุ่นกันเนี่ย”


ร้านค้า ขายสินค้าพื้นเมือง (Handmade) เช่น ส้าหหวด ไซ แซะ ยอ(จ๋ำ) รองเท้า(เกิบหรือ เกือก) เพนท์เล็บ งานศิลปะหัตถกรรมต่างๆๆหรือของที่ใช้ในบ้านหลายประเภทมากมาย เสื้อผ้าพื้นเมือง เช่น ชุดผ้าไหมแท้ กระเป๋าผ้าไหม รองเท้า กางเกง เสื้อแขนยาว ทั้งหญิงและชาย รวมทั้งเสื้อผ้าวัยรุ่น ทั้งเด็กและปผู้ใหญ่ สร้อยแหวน เงินทอง ตุ้มหู นาฬิกา สินค้าเบ็ดเตล็ดมากมาย ถือได้เลยว่าถ้ามาถนนคนเดินก็เหมือนได้มาช๊อปปิ้งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าทุกชนิดไว้ได้เลยทีเดียว
เก็บภาพบรรยากาศ แนน่าประทับใจ ถนนคนเดินเชียงราย ChiangraiwalkStreet ถนนคนเดินย้อนยุค ของคนเมืองเหนือ


ที่มา 
http://travel.mthai.com/region/north/78880.html
https://chiangraiwalkstreet.wordpress.com/

ไร่บุญรอด



          ไร่บุญรอด เปิดบริการให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวเมื่อปี พ.ศ. 2554 ก่อนจะมาเปลี่ยนชื่อเป็นสิงห์ ปาร์ค เชียงราย (Singha Park Chiangrai) ตั้งอยู่ริมถนนสายเด่นห้า-ดงมะดะ ห่างจากเขตชุมชนเมืองเชียงราย ประมาณ 9 กิโลเมตร ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 1 บ้านแม่กรณ์ ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 450 เมตร ในฤดูหนาวอากาศค่อนข้างเย็นสบาย อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 19.1 องศาเซลเซียส สภาพของพื้นที่โดยทั่ว ๆ ไป เป็นที่ลาดเนินเขา มีภูเขาเล็ก ๆ พื้นที่มีความลาดเทปานกลาง 








          ด้วยพื้นที่ที่กว้างขวาง ทำให้วิธีชมไร่บุญรอดจึงมีด้วยกัน 2 วิธี คือ นั่งรถสบาย ๆ ชมทัศนียภาพแจ่ม ๆ โดยมีไกด์ของทางไร่คอยบอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ฟังเพลิน ๆ หรือถ้าอยากออกกำลังขาก็ต้องปั่นจักรยานชมวิวชิล ๆ ซึ่งที่นี่ก็มีไว้บริการหลายคัน



          สำหรับภายในไร่บุญรอดเพาะปลูกพื้นหลากหลายชนิด แต่ที่ถือเป็นไฮไลท์ของที่นี่เลยก็คือ ไร่ชาอู่หลงสายพันธุ์จินซวน (Jin Xuan) หรือ ชาอู่หลงเบอร์ 12 เป็นชาสายพันธุ์ไต้หวัน ที่ปลูกบนพื้นที่กว่า 600 ไร่ กล้างไกลลดหลั่นกันลงมาอย่างสวยงาม ทั้งนี้ ชาอู่หลงเบอร์ 12 นิยมปลูกด้วยความสูงของพื้นที่ 450 เมตรจากระดับน้ำทะเล เพราะทำให้ได้กลิ่นหอม รสเลิศ








          พุทราพันธุ์ซื่อหมี่ กว่า 100 ไร่ ที่ถือว่าเป็นพระเอกของไร่ เพราะมีขนาดใหญ่มาก โดยช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน พุทราพันธุ์ซื่อหมี่ออกผลให้ได้ชิมกัน, มะเฟืองยักษ์หวาน ซึ่งในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม มะเฟืองยักษ์นับร้อยกว่าต้นจะพร้อมใจกันออกผลสีเหลือง รสหวานน่าลิ้มลอง และสตรอว์เบอร์รี อีกหนึ่งสุดยอดที่มาพร้อมลมหนาว ซึ่งที่ไร่บุญรอดจะปลูกสตรอว์เบอร์รีในพื้นที่ 4 ไร่ สายพันธุ์พระราชทาน 80 เป็นเกษตรกรรมผสมผสาน หมดฤดูกาลจะปลูกแคนตาลูปและมะเขือเทศพันธุ์เลื้อย โดยสตรอว์เบอร์รีจะให้ผลผลิตมกราคม-กุมภาพันธ์ 




          นอกจากนี้ ยังมียางพารากว่า 2,700 ไร่, มัลเบอร์รี, ราสเบอร์รี, เมลอน และพืชผักผลไม้เมืองหนาวอีกหลากหลายชนิด และอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนไร่บุญรอด นั่นก็คือ การไปดื่มด่ำและชื่นชมดอกไม้สวย ๆ งาม ๆ ที่จะเบ่งบานสดใสช่วงต้นเดือนธันวาคม ไม่ว่าจะเป็นทุ่งปอเทืองสีเหลืองอร่าม แววมยุรา ข้าวญี่ปุ่น ซัลเวียตั้งชูช่อสีแดง พิงค์มอส ดอกคอสมอส และดอกไม้นานาชนิดจะปกคลุมเนินเขาเหมือนผืนพรม พร้อมกับปิดท้ายด้วยจากชมพระอาทิตย์ค่อย ๆ ลาลับขอบฟ้าสุดแสนจะโรแมนติก 





          นั่นแน่! เที่ยวชมไร่บุญรอดจนหมดแรงกันแล้วใช่ไหมล่ะ ถ้าอย่างนั้นก็ได้เวลาไปเติมพลังกันที่ร้านอาหาร "ภูภิรมย์" ซึ่งมีอาหารอร่อย ๆ ให้เลือกรับประทานมากมาย ทั้งอาหารไทย อาหารฝรั่ง อาหารเหนือ และเมนูแปลก ๆ ให้ได้ลิ้มลอง โดยอาหารแต่ละเมนูคัดสรรมาอย่างดี และใช้ผลผลิตปลอดสารจากไร่ เช่น ยำใบชาทอดกรอบ, ไก่ย่างภูภิรมย์, ยำทูน่าใบชาสด และขาหมูทอดเยอรมัน เป็นต้น นอกจากนี้ คุณยังสามารถชมวิวของไร่บุญรอดได้แบบ 360 องศา พร้อมจิบเครื่องดื่มเย็น ๆ เพลิน ๆ อีกด้วย 





         
 หรือใครอยากซื้อของฝากติดไม้ติดมือ ก็มีผลิตภัณฑ์จากทางไร่จำหน่ายอยู่ ณ ร้านขายของที่ระลึกด้วย ทั้งน้ำเสาวรส, น้ำมัลเบอร์รี, แยมผลไม้ มะเฟืองอบแห้ง, มะม่วงอบแห้ง, ชาเจียวกู้หลาน, ชาอู่หลง และเห็ดหอมดองซีอิ๊ว ฯลฯ

          และนี่คือความงดงาม ความสนุกสาน ที่คุณจะได้รับหากมาเยือน สิงห์ ปาร์ค เชียงราย หรือ ไร่บุญรอด เพราะนอกจากจะได้ซึมซับกับอากาศที่แสนบริสุทธิ์ให้ฉ่ำปอดแล้ว ยังได้ตื่นตาตื่นใจกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีบริการด้วย


ที่มา
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Boon Rawd Farm 
ขอบคุณเรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา

พิพิธภัณฑ์และศูนย์ศึกษาชาวเขา หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า พิพิธภัณฑ์ชาวเขา เชียงราย ตั้งอยู่บนชั้น 3 ของอาคารพี ดี เอ. 1  ไม่ไกลกับสวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ดำเนินงานโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณะประโยชน์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร ทั้งในเขตเมืองและชนบท ในการดูแลของ คุณมีชัย วีระไวทยะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ซึ่งเป็นบุคคลมีชื่อเสียงจากบทบาทการรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัย สำหรับการคุมกำเนิด จนมีการเรียกว่า “ถุงมีชัย” อยู่พักหนึ่ง รวมถึงเป็นเจ้าของร้านอาหารสุดแนว  Cabbages & Condoms
พิพิธภัณฑ์ชาวเขา เชียงราย เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในชนกลุ่มน้อยในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย โดยจัดแสดงและฉายสไลด์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัตถุสิ่งของ เครื่องใช้ ชุดแต่งกายประจำเผ่า พร้อมข้อมูลในเชิงนิทรรศการที่เกี่ยวกับชาวไทยภูเขา 6 เผ่า ได้แก่ ลีซอ อาข่า เย้า ม้ง กะเหรี่ยง และมูเซอ ภายในพิพิธภัณฑ์ชาวเขา เชียงรายแบ่งออกเป็นสองโซนด้วยกันคือส่วนจัดแสดงพร้อมห้องฉายวีดีทัศน์และอีกส่วนคือส่วนขายของที่ระลึก พิพิธภัณฑ์ชาวเขา เชียงรายมีพื้นที่รวม 650 ตารางเมตร
ถึงแม้พิพิธภัณฑ์ชาวเขา เชียงรายจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักแต่ก็จัดว่าเป็นแหล่งศึกษาข้อมูลชั้นเยี่ยมที่จะได้เข้าใจถึงวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆที่อยู่ในภาคเหนือ เราจะมีโอกาสได้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม ที่อาจไม่เคยเห็นหรือเข้าใจมาก่อน ส่วนมากที่เข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ชาวเขา เชียงรายคือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลัก


ที่มา
http://www.zthailand.com/place/hilltribe-museum-education-center-chiang-rai/

พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

    บ้านดำเป็นบ้านที่ศิลปิน อ.ถวัลย์ ดัชนี สร้างขึ้นมา มากกว่า40ปี ซึ่งแบ่งออกเป็น 3เจนเนอเรชั่น คือเป็นเจเนอเรชั่นไม้ ไม้ผสมปูน แล้วก็ เป็นบ้านคอนกรีต คอนเซปท์ทั้งหมดก็ป็นงานสถาปัตยกรรมที่ศิลปินออกแบบ สร้างสรรค์ด้วยตัวเอง ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ล้านช้าง ล้านนา และสุวรรณภูมิทั้งหมด บ้านแต่ล่ะหลังก็จะมีคอนเซปท์ และความน่าสนใจที่ต่างกันออกไป สิ่งที่สะสมและจัดแสดงภายในบ้านก็จะมีคอนเซปท์แนวคิดตามนั้น อย่างเช่นบ้านลาว ได้แรงบันดาลใจจาก สุวรรณภูมิ ข้างในก็จะเป็นพวกเครื่องเงิน ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์เองตั้งใจที่จะไม่ติดตั้งป้ายชื่อในตอนนี้ เพราะยังอยากให้เป็น Private Museum เพราะทุกวันนี้ศิลปินก็ยังอาศัยอยู่ในนี้ เป็นบ้านส่วนตัว 
ที่นี่ถือว่าเป็นการแสดงออก ซึ่งเราจะได้เห็นตัวตนของศิลปิน คือ อ.ถวัลย์ ดัชนี ได้อย่างชัดเจนผ่านทางงานศิลปะและสถาปัตยกรรม ของสะสมทั้งหมด ซึ่งผลงานของท่าน มีทั้ง จิตกรรม ปติมากรรม สถาปัตยกรรม ของสะสมทั้งหมดก็สะสมนำมาจากทั่วโลก แล้วก็นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน เช่นพวกเก้าอี้ที่คุณจะไม่ได้เห็นที่ไหน 

      พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 56พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 58พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 59
      พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 46พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 47พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 55
      พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 27พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 25พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 58
ของสะสมทั้งหมดก็สะสมมาตลอดอายุของ อ.ถวัลย์ ดัชนี บ้านทุกหลังที่เราเห็นในนี้ก็เป็นเหมือนบ้านส่วนตัวของศิลปิน คำแนะนำสำหรับการมาเที่ยวชม บ้านดำ ตัวศิลปินเอง อยากที่จะให้ ทุกคนที่เข้ามาชม รู้สึกมากกว่าเข้าใจ เพราะความเข้าใจแสวงหาได้จากหลายทาง แต่ความรู้ต้องมาสัมผัสเองเห็นเอง ก่อนมาที่นี่อาจจะดูข้อมูลที่เว็บไซต์ก่อนเพื่อหาความรู้ มีสถาปัตยกรรมทั้งสิ้น มากกว่า40หลัง 
 
"บ้านดำ แกลเลอรี่" เป็นสถานที่แสดงผลงาน อ.ถวัลย์ ดัชนี  ชื่นชอบผลงานของศิลปิน และเป็นมุมพักผ่่อน สำหรับแขกผู้มาเยื่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านดำได้พักดื่มกาแฟ



พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 05พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 02พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 04

วิหารเล็ก
เป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1.00 เมตร โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด  อยู่บนฐานปูนปั้น มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคารทั้งหมด 6 ต้น หลังคาทรงสามเหลี่ยมลดระดับสี่ชั้น  มุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี ด้านบนประดับด้วยฉัตรบราลี     ป้านบม ด้านล่างประดับด้วย  หางหงส์และค้ำยัน  มีประตูเข้าออกสองด้าน ตรงกัน มีหน้าต่างด้านละสองบาน ใช้เวลาในการก่อสร้าง1ปี 


มหาวิหาร (อาหารพิพิธภัณฑ์ศิลปะ)
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวขนาดใหญ่ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.80 เมตรบนฐานก่ออิฐถือปูน โครงสร้างอาคาร  เป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร และฐานของเสาแต่ละต้น มีฐานบัวปูนปั้นทุกต้น หลังคา  ทรงสามเหลี่ยม ลดระดับสี่ชั้นมุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี ปรับดับด้วยฉัตร และบราลี ด้านล่างประดับด้วยหางหงส์  และค้ำยัน มีประตูขนาดใหญ่ข้างละสามบาน ด้านข้างเป็นบานเลื่อน  ชื่อของมหาวิหารให้ความหมาย ดุจเดียวกันกับมหาวิหาร ซีสทีนชาเปล ที่เขียนคำพิพากษาของไมเคิล แองเจโล ในนครวาติกัน ใช้เวลาสร้าง7ปี  สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ ในการจัดงานแสดงถาวร ทัศนศิลป์ทุกสาขา ของถวัลย์ ดัชนี งานแสดงหมุนเวียนของศิลปิน ทั้งในและนอกประเทศ     ประชุมสัมมนาทางศิลปะสุนทรียศาสตร์ ปรัชญา ตลอดจนกิจกรรมทางศิลปะ



พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 17พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 15พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 14
พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 13พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 10พิพิธภัณฑ์บ้านดำ (อ.ถวัลย์ ดัชนี) ภาพ 59

วิหารราม
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1.80 เมตร โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้บนฐานปูน  มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยม ลดระดับสี่ชั้น ด้านบนประดับด้วยป้านลมและหางหงส์  มีประตูขนาดใหญ่สองด้าน ตรงกัน มีบานเลื่อนกระจกด้านข้าง เวลาในการสร้าง 2 ปี แรงบันดาลใจจาก ความงามบริสุทธิ์ของไม้ขนาดใหญ่ ตั้งแต่เสา ฝา เครื่องบน ม้าต่างไหม กวีของไม้ 




เรือนหลังข้าว, บ้านยุ้งข้าว
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1.20 เมตร โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด  มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ด้านบนติดกาแล มีทางเชื่อมอยู่ตรงกลาง  ของบ้าน มีกระจกรับแสงด้านบน ด้านในแบ่งเป็นสามส่วน มีห้องนอนสองห้องมีหน้าต่างกระจกบานใหญ่และ  ตรงกลางของบ้านมีพื้นที่เอนกประสงค์มีเก้าอี้สำหรับนั่งพักผ่อน 




สุขากระบวนลุงแสง
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร     หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ด้านบนติดกาแล มีประตูเข้าทางด้านหน้า ด้านในแบ่งเป็นสองฟาก     ด้านทิศเหนือเป็นห้องน้ำและห้องอาบน้ำ ทิศใต้เป็นห้องน้ำ และห้องจัดแสดงกระบวยลุงแสง เป็นเรือนไม้ขนาดเล็ก ส่วนสัดสมบูรณ์ ลงตัวงดงาม เป็นห้องน้ำที่มีสุขภัณฑ์ ชั้นยอดกับห้องน้ำชาวบ้าน สะอาด ดูดี มีรสนิยม และรื่นรมย์ 


ห้องแต้ม
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นไม้ผสมปูน มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยม  ทรงสูงมุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี  ด้านบนประดับด้วยกาแล ด้านล่างมีค้ำยันและคันทวย มีประตูเลื่อนเข้าออกสี่ด้าน  คือทางทิศเหนือ-ใต้ ทิศตะวันออก-ตก ด้านบนมี กระจกรับแสง ด้านในเป็นห้องโถงโล่ง มีเตียงนอนและมีห้องน้ำในตัว 1 ห้อง  กั้นตรงกลางห้องด้วยรูปเขียนขนาดใหญ่ งานสำคัญหลายชิ้นของจิตรกร สร้างสรรค์ขึ้นที่นี่ มากมาย

ศาลาตะวันออก
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้บนฐานปูน  มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคารทั้งหมด 6 ต้น   ด้านข้างไม่มีผนัง หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี หลังคาลดระดับสามชั้น ประดับด้วยปั้นลมและหางหงส์ 

ผามผุกผายดาว
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 0.40 เมตร โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ผสมปูน   หลังคาทรงสามเหลี่ยม มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ด้านบนติดกาแล ด้านล่างประดับด้วยค้ำยันและคันทวย มีประตูเลื่อนขนาดใหญ่  สองด้าน ตรงกัน กระจกรับแสงด้านบน ด้านในเป็นห้องโล่ง มีที่นอน ที่นั่งและอุปกรณ์ในการออกกำลัง สร้างขึ้นเพื่อออกกำลัง พักพิงนักศึกษา พักผ่อนนาฏศิลป์ แต่งตัวนักแสดง 

เรือนเชียงทองทาทาบรุ้ง
ลักษณะเป็นอาคารสองชั้น โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้บนฐานปูน มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร   หลังคาทรงสามเหลี่ยมเล่นระดับสี่ชั้น ประดับด้วยป้านลมและหางหงส์ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมของประเทศลาว  หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี  มีมุขด้านหน้าและ หลังมีประตูทางเข้าด้านหลังตรงกันด้านข้างเป็นกระจก ชั้นล่างแบ่งเป็น สามส่วน คือห้องนอนและห้องนั่งเล่น ห้องอาหารและห้องรับแขก และห้องครัวและห้องน้ำ ชั้นที่สองมีห้องนอนและห้องน้ำในตัว 




กิ่งกาลเวลาในกลีบผกา
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคารทั้งหมด 12 ต้น  ด้านข้างไม่มีผนัง หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยหญ้าคา ใช้เป็นศาลาเอนกประสงค์

ไตรภูมิ(บ้านสามเหลี่ยม)
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1.80 เมตร โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด  มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ด้านบนติดกาแล ด้นล่างประดับหางหงษ์  มีประตูขนาดใหญ่สองด้านตรงกัน มีหน้าต่างสองข้าง กระจกรับแสงด้านบน ด้านในแบ่งเป็นสามส่วน  มีห้องนอนสองห้องและห้องเอนกประสงค์ ตรงกลางสำหรับใช้งานทั่วไปหนึ่งห้อง






ห้องน้ำหมื่นนก

ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคารทั้งหมด 6 ต้น  หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ลดระดับสามชั้น ด้านบนติดช่อฟ้าและตัวเหงา มีประตูเข้าทางด้านหน้า  ด้านข้างเป็นบานเลื่อนทำด้วยไม้ ด้านหน้าเป็นบานเลื่อนกระจก แบ่งเป็นสองฟาก ด้านในเป็นห้องน้ำและห้องอาบน้ำทั้งสองด้าน  ด้านข้างมีบานเลื่อนทำจากไม้ ใช้เป็นสุขา เพื่อสุขาวดี ของแขกผู้มาเยือน



เรือนผกายแก้ว
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยม  มุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ด้านบนติดช่อฟ้าและประดับตัวเหงา มีประตูเข้าทางด้านหน้า ด้านข้างเป็นบานเลื่อน ทำด้วยไม้ ด้านหน้าเป็น บานเลื่อนกระจก 

บ้านไซบะหลอด
ย้ายมาจากบ้านเก่า ในเมืองเชียงรายบ้านเดิมนำมาปลูกใหม่ ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1.20 เมตร โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยมทรงจอมแห มีประตูเข้า  ทางด้านหน้า มีหน้าต่างด้านหน้าสองข้าง กระจกรับแสงด้านบน ด้านในแบ่งเป็นสองชั้น ชั้นบนมีที่นอนสำหรับ 1 คน  ด้านล่างมีห้องนอนสำหรับ 1 คน และห้องน้ำ 1 ห้อง




อูปปรภพ(ห้องจิตวิญญาณ)
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวทรงโดมมีลักษณะคล้ายเจดีย์ปลายตัด โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างปูนทั้งหมด มีเสารองรับ  โครงสร้างของอาคาร มีประตูเข้าทางด้านหน้า-หลังทำจากด้านบนสุดติดกระจกเพื่อรับแสงสว่าง ที่มาและแรงบันดาลใจในการออกแบบ  อูบมุงอุโมงค์ เตาเผาถ่าน สถูปเจดีย์ ประติมากรรมในศาสนพลีหลายรูปแบบ ศิลปินปั้นบ้านเพื่อสถิตวิญญาณมากกว่าเอา  ประโยชน์ใช้สอย ให้ปริมาตรที่ปรินูนอิ่มเต็ม สงบระงับ





หยาดน้ำตาบนแก้มกาลเวลา (อูบก๊อกตด)
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวทรงโดมฐานกลมมีลักษณะคล้ายเจดีย์  โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างปูนทั้งหมด มีเสารองรับ  โครงสร้างของอาคาร มีประตูเข้าทางด้านหน้า-หลังทำจากเหล็กบนยอดติดฉัตร ที่มาจาก ดอกบัวบานรองรับหยาดน้ำตาที่ร่วงลงบนแก้มกลีบกาลเวลา ต้นแบบของอูบมุง ปักยอดฉัตรบนปรางค์ปลียอด เค้าโครง และสัดส่วนที่ลงตัว ปฏิมาสถาปัตย์ชั้นแรก 



อูบเปลวปล่องฟ้า
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวทรงโดมฐานกลมมีลักษณะคล้ายเจดีย์ ปลายตัด โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างปูนทั้งหมด  มีเสารองรับโครงสร้างของอาคาร มีประตูเข้าทางด้านหน้า-หลังทำจากด้านบนสุดติดกระจกเพื่อรับแสงสว่าง


นอแรดในรุ้งดาว (อูบเตารีดจัดแสดงชุดเฟอร์นิเจอร์จากทุกมุมโลก)
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวทรงโดม มีลักษณะคล้ายกับเตารีดเหล็กโบราณหรือโบสถ์ คริสตร์เตียนในยุคกลาง     โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างปูนทั้งหมด มีเสารองรับโครงสร้างของอาคาร มีประตูเหล็กขนาดใหญ่เข้าทางด้านหน้า-หลัง


เถรีกัมปนาท (หอกลอง)
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้บนฐานปูน  มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคารทั้งหมด 14 ต้น  ด้านข้างไม่มีผนัง หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยหญ้าคา ใช้เป็นศาลาเอนกประสงค์

 

หอคำ (ที่พักสำหรับสุภาพสตรี)
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1.70 เมตร โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด  มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ด้านบนติดกาแล และบราลี ด้านล่างประดับ  ด้วยค้ำยันคันทวย มีประตูขนาดใหญ่สองด้าน ตรงกัน มีหน้าต่างด้านละสองข้าง ด้านในมีที่นอนสองและห้องน้ำหนึ่งห้อง 




หอไตร (ที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ)
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ1.80 เมตร โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด  มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร บันไดด้านหน้าทำจากเสาไม้บากร่องให้เป็นบันไดประดับด้วยเขาควาย  หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยไม้แป้นเกล็ด ด้านบนติดกาแล และบราลี ด้านข้างประดับด้วยหัวเม็ดทรงมัญฑ์ มีหน้าต่างหนึ่งบาน  ด้านในเป็นห้องเดี่ยว 




บ้านสามชั้น (เรือนนอนฤดูหนาว)
ลักษณะเป็นอาคารสามชั้น โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ผสมปูน มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยม  ทรงจอมแห มีป้านลมและตัวเหงา มีกระจกรับแสงด้านบน ด้านในแบ่งเป็นสามชั้น มีห้องนอนทั้งสามชั้นและมีห้องน้ำชั้นหนึ่ง 


ศาลามีดม้างฟ้า
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้บนฐานปูน มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคารทั้งหมด 4 ต้น  ด้านข้างไม่มีผนัง หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี หลังคาลดระดับสองชั้น ประดับด้วยปั้นลมและตัวเหงา

ศาลาพระสี่อริยาบถ
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 0.20 เมตร โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้าง  ไม้ทั้งหมด มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยมลดระดับสี่ชั้นมุงด้วยกระเบื้องดินเผา  ไม่เคลือบสี  ด้านบนประดับด้วยป้านลมและหางหงส์ ด้านล่างโล่งไม่มีผนังกั้น ลักษณะเป็นแบบศาลา


มหาวิหาร (อาคารพิพิธภัณฑ์ศิลปะ)
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุง  ด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี ประดับด้วยป้านลมและหางหงส์ และด้านล่างมีค้ำยัน ด้านหน้า-หลังมีประตูทางเข้า-ออกตรงกัน ด้านหน้าประดับด้วยซุ้มประตูขนาดใหญ่ฝีมือช่างพม่า

ศาลาเครื่องมุกมหัตภัณฑ์
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร  หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี ประดับด้วยป้านลมและหางหงส์ และด้านล่างมีค้ำยัน ด้านหน้า -  หลังมีประตูทางเข้าสามบาน แบ่งเป็นสามห้อง บริเวณโถงกลาง เป็นห้องรับแขก ห้องด้านซ้ายเป็นห้องนอนและห้องน้ำในตัว  ห้องด้านขวาเป็นห้องนั่งเล่น  

ศาลาพระทองไสยาสน์
เป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 0.40 เมตร โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ผลสปูน มีเสาไม้รองรับโครงสร้าง  ของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี หลังคาลดระดับสามชั้น ประดับด้วยหางหงส์และค้ำยัน มีประตู  สองด้าน ตรงกันประตูด้านหน้าประดับด้วยซุ้มประตูไม้แกะขนาดใหญ่ศิลปะพม่า ด้านข้างเป็นกระจกใสทั้งสองข้าง ด้านในแบ่งเป็น ห้องเดี่ยว 


วงแหวนหว่านล้อมดาวพระเสาร์
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี ด้านบนประดับด้วยป้านลมและหางหงส์ ด้านล่างมีค้ำยัน  ประตูด้านหน้าประดับด้วยซุ้มประตูขนาดใหญ่ฝีมือช่างพม่า ด้านหลังมีทางเชื่อมต่อไปยังห้องน้ำ


สุขาวดีในกาพย์หอย
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้บนฐานปูน  มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร  หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบสี  ด้านบนประดับด้วยป้านลมและหางหงส์ มีประตูเข้าออกทางเดียว  ด้านข้างเป็นกระจกใส 

อูบหัวนกกก, นกเงือกหัวแรด
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวทรงโดมมีลักษณะคล้ายหัวนกเงือก โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างปูนทั้งหมด  มีเสารองรับโครงสร้างของอาคาร มีประตูเข้าออกทางเดียวด้านหน้าทางมีกระจกทรงกลมด้านข้าง ข้างละสามบาน  เพื่อเป็นช่องแสง ด้สนในมีห้องนั่งเล่นห้องนอนและห้องน้ำ แรงบันดาลใจในการออกแบบจาก  ประติมากรรม ในรูปแบบที่อยู่อาศัย ทางสถาปัตย์ จากนาวาโฮในอินเดียน อาปาเช่ในซานตาเฟ่ อูบมุงลาว โบสถ์ของเกาดี้ในเสปญ  โนเตระดามส์ รองชอง ของมีส วันโคโร มาจนถึง    บิลเบา ของแฟรงค์ แกรี่ 






ผามแกะไม้
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างไม้บนฐานปูน  มีเสาไม้รองรับโครงสร้างของอาคาร ด้านข้างไม่มีผนัง  หลังคาทรงสามเหลี่ยมมุงด้วยหลังคาลอนคู่ ใช้เป็นศาลาสำหรับช่างแกะไม้ 





ที่่มา
http://www.paiduaykan.com/province/north/chiangrai/bandum.html
http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000120272
http://sompornbandum.blogspot.com/