ข้อมูลจังหวัดเชียงราย


เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้แล้ว จึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา  จึงได้ไปรวมพล  ณ  เมืองลาวกู่เต้า  และหมอควาญได้นำช้างมงคลของพญามังรายไปทอด (ผูก)ไว้ในป่าหัวดอยทิศตะวันออกพลัดหายไป พญามังราย จึงได้เสด็จติดตามรอยช้าง ไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ำกกนัทธี  ได้ทัศนาการเห็นภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม  อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่นั้น ให้ก่อปราการโอบเอดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง  ขนานนามเมืองว่า เวียงเชียงราย” ตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง  เมื่อวันที่ 26  มกราคม  พ.ศ.  1805 ดังนั้น  จึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุข บนพื้นสีม่วงของ วันเสาร์ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย  เป็นสีประจำจังหวัด


คำขวัญของจังหวัดเชียงราย
เหนือสุดในสยาม                             ชายแดนสามแผ่นดิน
ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา                          ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

วิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดเชียงราย
ไฟล์:Seal Chiang Rai.png
เชียงราย  : เมืองทองของวัฒนธรรมล้านนา   
นำการค้าสู่สากล  ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

ตราประจำจังหวัด
รูปช้างสีขาวใต้เมฆ หมายถึง นิมิตของความรุ่งเรืองในอดีต เพราะพ่อขุนเม็งรายเคยใช้ช้างเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกปราบศัตรูจนได้ชัยชนะ นอกจากนี้ ช้างยังเป็นชนวนให้พ่อขุนเม็งร้ายมาก่อร่างสร้างเมืองนี้ขึ้นอีกด้วย โดยว่ากันว่า ช้างทรงของพ่อขุนเม็งรายหลุดหายไปจากหลักที่ผูกไว้ พ่อขุนเม็งรายติดตามไปจนถึงภูมิประเทศอันบริบูรณ์ริมน้ำกก จึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้น ณ ที่นั้น

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ต้นกาสะลองคำ

 

ดอกไม้ประจำจังหวัด

พวงแสด


ผลไม้ประจำจังหวัด

สับปะรดนางแล  
เป็นสับปะรดที่มีชื่อเสียงของจังหวดเชียงราย เนื่องจากมีขนาดใหญ่ สีเหลืองสด 
และมีรสชาติหวานฉ่ำ


สภาพถูมิศาสตร์
  อาณาเขต
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเมืองสาดและจังหวัดท่าขี้เหล็กของรัฐฉาน ประเทศพม่า และแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงอุดมไชย ประเทศลาว
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอภูซาง อำเภอจุน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา อำเภอเมืองปาน อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
  • ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอดอยสะเก็ด อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และเมืองสาด รัฐฉาน ประเทศพม่า
จังหวัดเชียงราย มีชายแดนติดกับประเทศพม่ายาวประมาณ 130 กิโลเมตร และมีชายแดนติดต่อกับประเทศลาวประมาณ 180 กิโลเมตร

  ภูมิประเทศ

จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ประมาณ 11,680 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,290,000 ไร่ มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมีดอยลังกาหลวง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด มีความสูง 2,031 เมตรบริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ 410-580 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุม บริเวณเทือกเขามีชั้นความสูง 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีที่ราบเป็นหย่อม ๆ ในระหว่างหุบเขา และตามลุ่มน้ำสำคัญ จังหวัดเชียงรายมีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ติดต่อกันไปเป็นพืดตลอดเขตจังหวัด

  ภูมิอากาศ

จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือน(กุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม) มีอุณหภูมิเฉลียประมาณ 32 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือน(พฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม) มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 7.0 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2556 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 8-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ -1.5 องศาที่ภูชี้ฟ้า ปลายปี 2556 จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว เป็นพื้นที่ๆ นักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างยิ่ง

หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ ได้แก่ 
อำเภอเมืองเชียงราย  
อำเภอเวียงชัย 
อำเภอเชียงของ 
อำเภอเทิง 
อำเภอพาน 
อำเภอป่าแดด 
อำเภอแม่จัน 
อำเภอเชียงแสน 
อำเภอแม่สาย  
อำเภอแม่สรวย 
อำเภอเวียงป่าเป้า 
อำเภอพญาเม็งราย 
อำเภอเวียงแก่น
อำเภอขุนตาล 
อำเภอแม่ฟ้าหลวง 
อำเภอแม่ลาว
อำเภอเวียงเชียงรุ้ง 
อำเภอดอยหลวง

ประชากร
จังหวัดเชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 
ประชากรในเขตจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม อาทิ

คนไทยพื้นราบ

ประกอบด้วยชาวไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ ดังนี้
  • ไทยวน หรือคนเมือง เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุด
  • ไทลื้อ,ไทเขิน,ไทใหญ่ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และทางตอนใต้ของจีน

ชาวไทยภูเขา

ประกอบด้วย อาข่า มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ ม้ง

ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า

บุลคลหลายสัญชาติที่อพยพมาจากพม่าเข้าอยู่ในประเทศไทยก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 การออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัยต้องขออนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย

ชาวลาวอพยพ

คนลาวที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้องตามแนวชายแดนของประเทศไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลาวในปี พ.ศ. 2517 ขณะนี้ทางการของไทยยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัย

ชาวจี

ชนกลุ่มน้อยซึ่งสืบเชื้อสายจีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตทหารพรรคก๊กมินตั๋ง ได้มาตั้งรกรากในพื้นที่ ที่มีความโดดเด่นได้แก่ หมู่บ้านสันติคีรี


ที่มา 
http://th.wikipedia.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น