พลิกฟื้นพระเจ้าล้านตื้อ ประวัติศาสตร์ลำน้ำโขงของเมืองเชียงแสน ลำน้ำโขงเป็นสายน้ำใหญ่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนสองฝากฝั่ง สายน้ำไหลเชี่ยว ดุดัน จากจีน มุ่งผ่าน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ประวัติศาสตร์ ของชาติต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง จึงหนีไม่พ้นสายน้ำแห่งนี้ น้ำโขงไหลผ่านทวีปนี้ราวกับมีชีวิต 10 ปี ไหลไปทางหนึ่ง 100 ปี ไหลไปอีกทางหนึ่ง เปลี่ยนทางไปอีกทางหนึ่ง มีตำนานเล่าว่าถึงเกาะเก่าแก่กลางลำแม่น้ำโขง “เกาะดอนแท่น” เดิมทีเป็นผืนดินในไทยโดยเป็นทีอาศัยของผู้คนเชียงแสนในยุคก่อน เกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งของวัดกว่า 10 วัด ตามที่ระบุไว้ในพงศาวดาร เมืองงินยางเชียงแสนภาคที่ 61 ที่สำคัญยังเป็นที่ตั้งของ วัดพระเจ้าทองทิพย์ อันเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระพทุธรูปสำริดขนาดใหย่ ซึ่งชาวบ้านกล่าวขานนามว่า “พระเจ้าล้านตื้อ คำว่า ตื้อ คือมาตราวัดของชาวล้านนา หมายถึงโกฏิ ดังนั้นคำว่า " ล้านตื้อ" ก็หมายถึงองค์พระนี้มีขนาดและน้ำหนักมาก สันนิฐานว่าองค์พระคงจมลงไปพร้อมกับเการะดอนแท่น ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณน้ำโขงหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงแสน
ประจักษ์พยานที่เป็นรูปธีทชัดเจนคือ พระรัศมีพระเจ้าล้านตื้อ ซึ่งมีขนาดกว้าง 55 CM สูง 70 CM คาดกันว่าพระรัษมีถูกงมชึ้นมาก่อนปี พ.ศ. 2446 และมีการประมาณว่าพระเจ้าล้านตื้อหากมีอยู่จริง หน้าคักคงกว้างประมาณราว 8.5 m สูง 10 m
อย่างไรก็ตามคำเล่าขานจึงไม่ใช่เรื่องที่ฝังนิ่งอยู่ในตำนานแต่เป็นเรื่องจริงต้องรอคอยว่าวันหนึ่งองค์พระเจ้าล้านตื้อจะกลับมาสู่เมือง วิธีการกลับคืนมาสู่เมืองจะเป็นอย่างไร คงต้องรอติดตามอย่างใจจดใจ่อ ส่วนจะกลับมาในรุ่นเรา รุ่นลูก หรือรุ่นหลาน หรือกว่านั้น ก็ต้องรอคอยด้วยในอันศรัทธาเหมือนกัน
ตามรอยพระเจ้าล้านตื้อ
จากคำบอกเล่าของชาวเชียงแสน ที่บรรทุกไว้ในหนังสือตามรอยพระเจ้าล้านทองทิพ (พระเจ้าล้านตื้อ) ประวัติศาสตร์ลำน้ำโขงเมืองเชียงแสน (หาซื้อได้ ที่พิพิธภันฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน กล่าวว่าคืนพบพระพุทธรูปกลางลำน้ำโขงครั้งแรกเมือราวปี พ.ศ. 2479 พรานหาปลา ผู้หนึ่งทอดแหหาปลาอยู่กลางน้ำโขงบริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเชียงแสนได้เห็นพระพุทธรุปขนาดใหญ่โพล่ขึ้นมากลางน้ำจำได้ว่ามีพระรัศมีบนพระเกศาและเห็นส่วนพระเศียรเพียงแค่พระหนุ แต่อย่างไรก็ตาม การพบเห็นของพรานปลาผู้นั้นขัดกับหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ที่ว่าการค้นพบพระรัศมีนั้นพบก่อน ปี พ.ศ.2446 เมื่อครั้งแรกได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดคว้าง (หลังตลาดเชียงแสน) ต่อมาย้ายไปรักษาที่วัดปงสนุก และวัดมุงเมืองตามลำดับ เมื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ เสร็จจึงนำออกแสดงจนมาถึงทุกวันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.2488 มีพรานปลาอีกคนหนึ่งพบเสาวิหารขนาดใหญ่จำนวน 2-3 ต้นล้มทับกันจมอยู่ในน้ำโขง ลึกลาว 4 เมตร ที่บริเวณสามแยกหน้าสถานีตำรวจ
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2492 – 2493 เพียสมบูรณ ์(ชาวลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐานในอำเภอเชียงแสน) ฝันว่าพระพุทธรูปล้มคว่ำพระเศียรลง หันไปทางทิศใต้ ดังนั้นราวเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของปีเดียวกันนั้นจึงมีการลงคลำหาพระพุทธรูปกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากตั้งศาลเพียงตาขึ้นในบริเวณเกาะดอนแท่นและทำพิธีบวงสรวงพระพุทธรูป เตรียมเรือเหล็กขนาดใหญ่ 2 ลำ พร้อมช้าง 3 -4 เชือก นิมนต์พระสงฆ์ทำพิธี เนื่องจากกระแสน้ำแรงและเย็นมากจึงไม่อาจพบพระรูปแต่อย่างใด
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2509 อิตาเลียน – ไทย จำกัด ได้สัมปทานการสร้างสนามบินในหลวงพระบาง มาพักอยู่ที่เชียงแสน(สมัยนั้นการเดินทางไปหลวงพระบางต้องใช้วิธีการเดินเรือจากเชียงแสนไปถึงจะสะดวกที่สุด) นายชูสง่า ไชยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ขณะนั้นจึงได้ให้ทางบริษัทฯ ดังกล่าว ส่งนักประดาน้ำและอุปกรณ์ต่างๆดำเพื่อค้นหาและกู้เอาพระพุทธรูปขึ้นมา ซึ่งเป็นจุดที่เกาะกลางน้ำตรงหน้าสถานีตำรวจฯบริเวณดังกล่าวเป็นน้ำวน เชี่ยวมาก นักประดาน้ำทนความเย็นไม่ไหว การค้นหาในตอนนั้นจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ได้เพียงพระพุทธรูปองค์เล็ก และโบราณวัตถุอื่นๆอีกเพียงเล็กน้อยจึงหยุดค้นหา
การค้นหาพระพุทธรูปที่จมอยู่ในลำน้ำโขง ตั้งแต่การพบครั้งแรกจนกระทั้งถึงทุกวันนี้กว่า 70 ปีแล้วเรื่องราวยังเป็นที่สนใจและถูกเล่าขานผ่านลูกหลานชาวเชียงแสน เมื่อสืบทอดผ่านกันมาจึงกลายเป็นตำนานและนิทานพื้นบ้าน
อย่างไรก็ตามคำเล่าขานจึงไม่ใช่เรื่องที่ฝังนิ่งอยู่ในตำนานแต่เป็นเรื่องจริงต้องรอคอยว่าวันหนึ่งองค์พระเจ้าล้านตื้อจะกลับมาสู่เมือง วิธีการกลับคืนมาสู่เมืองจะเป็นอย่างไร คงต้องรอติดตามอย่างใจจดใจ่อ ส่วนจะกลับมาในรุ่นเรา รุ่นลูก หรือรุ่นหลาน หรือกว่านั้น ก็ต้องรอคอยด้วยในอันศรัทธาเหมือนกัน
ตามรอยพระเจ้าล้านตื้อ
จากคำบอกเล่าของชาวเชียงแสน ที่บรรทุกไว้ในหนังสือตามรอยพระเจ้าล้านทองทิพ (พระเจ้าล้านตื้อ) ประวัติศาสตร์ลำน้ำโขงเมืองเชียงแสน (หาซื้อได้ ที่พิพิธภันฑ์สถานแห่งชาติ เชียงแสน กล่าวว่าคืนพบพระพุทธรูปกลางลำน้ำโขงครั้งแรกเมือราวปี พ.ศ. 2479 พรานหาปลา ผู้หนึ่งทอดแหหาปลาอยู่กลางน้ำโขงบริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเชียงแสนได้เห็นพระพุทธรุปขนาดใหญ่โพล่ขึ้นมากลางน้ำจำได้ว่ามีพระรัศมีบนพระเกศาและเห็นส่วนพระเศียรเพียงแค่พระหนุ แต่อย่างไรก็ตาม การพบเห็นของพรานปลาผู้นั้นขัดกับหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ที่ว่าการค้นพบพระรัศมีนั้นพบก่อน ปี พ.ศ.2446 เมื่อครั้งแรกได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดคว้าง (หลังตลาดเชียงแสน) ต่อมาย้ายไปรักษาที่วัดปงสนุก และวัดมุงเมืองตามลำดับ เมื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ เสร็จจึงนำออกแสดงจนมาถึงทุกวันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.2488 มีพรานปลาอีกคนหนึ่งพบเสาวิหารขนาดใหญ่จำนวน 2-3 ต้นล้มทับกันจมอยู่ในน้ำโขง ลึกลาว 4 เมตร ที่บริเวณสามแยกหน้าสถานีตำรวจ
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2492 – 2493 เพียสมบูรณ ์(ชาวลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐานในอำเภอเชียงแสน) ฝันว่าพระพุทธรูปล้มคว่ำพระเศียรลง หันไปทางทิศใต้ ดังนั้นราวเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของปีเดียวกันนั้นจึงมีการลงคลำหาพระพุทธรูปกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากตั้งศาลเพียงตาขึ้นในบริเวณเกาะดอนแท่นและทำพิธีบวงสรวงพระพุทธรูป เตรียมเรือเหล็กขนาดใหญ่ 2 ลำ พร้อมช้าง 3 -4 เชือก นิมนต์พระสงฆ์ทำพิธี เนื่องจากกระแสน้ำแรงและเย็นมากจึงไม่อาจพบพระรูปแต่อย่างใด
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2509 อิตาเลียน – ไทย จำกัด ได้สัมปทานการสร้างสนามบินในหลวงพระบาง มาพักอยู่ที่เชียงแสน(สมัยนั้นการเดินทางไปหลวงพระบางต้องใช้วิธีการเดินเรือจากเชียงแสนไปถึงจะสะดวกที่สุด) นายชูสง่า ไชยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ขณะนั้นจึงได้ให้ทางบริษัทฯ ดังกล่าว ส่งนักประดาน้ำและอุปกรณ์ต่างๆดำเพื่อค้นหาและกู้เอาพระพุทธรูปขึ้นมา ซึ่งเป็นจุดที่เกาะกลางน้ำตรงหน้าสถานีตำรวจฯบริเวณดังกล่าวเป็นน้ำวน เชี่ยวมาก นักประดาน้ำทนความเย็นไม่ไหว การค้นหาในตอนนั้นจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ได้เพียงพระพุทธรูปองค์เล็ก และโบราณวัตถุอื่นๆอีกเพียงเล็กน้อยจึงหยุดค้นหา
การค้นหาพระพุทธรูปที่จมอยู่ในลำน้ำโขง ตั้งแต่การพบครั้งแรกจนกระทั้งถึงทุกวันนี้กว่า 70 ปีแล้วเรื่องราวยังเป็นที่สนใจและถูกเล่าขานผ่านลูกหลานชาวเชียงแสน เมื่อสืบทอดผ่านกันมาจึงกลายเป็นตำนานและนิทานพื้นบ้าน
พระพุทธรูปนวล้านตื้อ (จำลอง)
หากท่านที่ไปเที่ยวเชียงแสนผ่านไปทางป้ายสามเหลี่ยมทองคำ เลยไปทางร้านค้าของที่ระลึกต่างๆ ท่านจะได้พบเห็นองค์พระพุทธรูปสีทองขนาดใหญ่ น้ำหนักกว่า69 ตัน เฉพาะองค์พระตักกว้าง 9.99 เมตร สูง 15.99 เมตร ประทับอยู่บนเรือนแก้วกุศลธรรมขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีตุง(ธง) เฉลิมพระเกียรติองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมราชินีนาถฯ อยู่เบื้องข้าง พระพุทธรูปองค์นี้คือ พระพุทธนวล้านตื้อ
พระพุทธนวล้านตื้น องค์นี้เป็นพระเชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งได้สร้างขึ้นแทนองค์เดิมที่จมลงแม่น้ำโขง หน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน สมัยรัชกาลที่ 3 โน้น...
และสร้างขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองด้วยบุศราคัม น้ำหนักถึง 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 ม.สูง 15.99 ม. ประทับนั่งบน "เรือแก้วกุศลธรรม" ขนาดใหญ่ อย่างที่เห็นในรูปที่ 1 นั่นแหละครับ
..พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติ สูง 17.99 ม. ศูนย์ OTOP ล้านนา ซุ้มประตูโขงและพระมหาโพธิสัตว ์(เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว สูง 9.99 ม.) ทั้งหมดนี้ได้ใช้งบประมาณถึง 69 ล้านบาท
หากท่านที่ไปเที่ยวเชียงแสนผ่านไปทางป้ายสามเหลี่ยมทองคำ เลยไปทางร้านค้าของที่ระลึกต่างๆ ท่านจะได้พบเห็นองค์พระพุทธรูปสีทองขนาดใหญ่ น้ำหนักกว่า69 ตัน เฉพาะองค์พระตักกว้าง 9.99 เมตร สูง 15.99 เมตร ประทับอยู่บนเรือนแก้วกุศลธรรมขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีตุง(ธง) เฉลิมพระเกียรติองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมราชินีนาถฯ อยู่เบื้องข้าง พระพุทธรูปองค์นี้คือ พระพุทธนวล้านตื้อ
พระพุทธนวล้านตื้น องค์นี้เป็นพระเชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งได้สร้างขึ้นแทนองค์เดิมที่จมลงแม่น้ำโขง หน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน สมัยรัชกาลที่ 3 โน้น...
และสร้างขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองด้วยบุศราคัม น้ำหนักถึง 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 ม.สูง 15.99 ม. ประทับนั่งบน "เรือแก้วกุศลธรรม" ขนาดใหญ่ อย่างที่เห็นในรูปที่ 1 นั่นแหละครับ
..พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติ สูง 17.99 ม. ศูนย์ OTOP ล้านนา ซุ้มประตูโขงและพระมหาโพธิสัตว ์(เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว สูง 9.99 ม.) ทั้งหมดนี้ได้ใช้งบประมาณถึง 69 ล้านบาท
ที่มา
http://phrachiangsan.com/phanarantun.php
http://www.chiangraifocus.com/2010/travelView.php?id=148&aid=3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น