วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัดพระเจ้าทองทิพย์

วัดพระเจ้าทองทิพย์ แต่เดิมเป็นวัดร้าง อยู่ในเขตบ้านป่าหวาย ซึ่งในอดีตเป็นป่าหวาย ทั้งหมู่บ้านชาวบ้าน จึงเรียกว่า ป่าหวาย จนถึงปัจจุบันนี้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2089 พระเจ้าไชยเชษฐาของกรุงศรีสัตนาคนหุต เมืองหลวงพระบาง (นครเชียงทอง) จะไปครองนครเชียงใหม่ ตามคำทูลของเสนาอำมาตย์ของเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ลงเรือมาด้วยเพื่อจะนำไปสักการะบูชาที่นครเชียงใหม่ พระองค์จึงทรงประทับเรือพระที่นั่ง ตามลำน้ำโขงเข้ามาแม่น้ำกก และแม่น้ำลาว ตามลำดับ ครั้นมาถึงที่ตั้งของวัดพระเจ้าทองทืพย์ในปัจจุบัน เรือพระที่นั่งก็มาติดทั้งๆที่ไม่มีสิ่งกีดขวางแต่อย่างใด เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาทรงเห็นว่าเหล่าเสนานอำมาตย์ นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ขึ้นทางทิศตะวันตก และโปรดให้สร้างมณฑปไว้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์แล้วพระองค์ก็เสด็จไปครองนครเชียงใหม่ต่อไป และต่อมาชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดตามพระพุทธรูปว่าวัดพระเจ้าทองทิพย์สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
วัดพระเจ้าทองทิพย์เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2368 โดยท่าน ครูบาญาโณ พร้อมด้วย อุบาสก 3 คน คือ ท้าวสงคราม แสนขวาง และหมื่นขันธ์ได้มาริเริ่มสร้างประตูโขง พ.ศ. 2397 ท่านครูบายะ ครูบาถา และครูบาพรหม ตลอดจนถึงเจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงราย และพระยาไชยวงค์ ผู้รักษาเมืองหนองขวาง (อำเภอแม่สรวยปัจจุบัน) ร่วมกันสร้างพรเวิหาร พ.ศ. 2420 ท่านครูบาชัยวุฒิวริปัญญาได้รื้อวิหารหลังเก่าบูรณะขึ้นใหม่ โดยได้รับทุนทรัพย์จากเจ้าดารารัศมี พระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าหลวงเชียงใหม่ และบูรณะเสร็จในปีนั้น และได้บูรณะวิหารอีกครั้ง พ.ศ. 2539 โดยพระอธิการประยุทธ ติกขวีโร พร้อมด้วยคณะศรัทธาได้ช่วยกันรื้อวิหารบูรณะใหม่เสร็จในปี พ.ศ. 2541
ตามประวัติกล่าวว่า ราวปี พ.ศ. 2076 พระเจ้าเชียงใหม่ได้ยกพระธิดาให้กับพระเจ้าโพธิสารกษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตตนาคณหุต (หลวงพระบาง สปป.ลาว) แต่ไม่มีโอรสจึงไปบนขอจากพระเจ้าทองทิพย์ พระมเหสีทรงประสูติโอรสทรงพระนามว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อพระชนมายุได้ 18 พรรษา พระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาได้ทรงสวรรคตไม่มีราชบุตรสืบราชบัลลังก์ ข้าราชบริพารได้ทูลขอพระไชยเชษฐาไปครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารก็ทรงอนุญาต แต่ขอให้นำพระเจ้าทองทิพย์ไปด้วย ได้อัญเชิญลงเรือไปเชียงใหม่มาตามลำน้ำโขง ลำน้ำกก และลำน้ำลาว เมื่อเดินทางไปถึงที่ตั้งวัด ณ ปัจจุบัน เรือก็เกยตื้น ไม่สามารถจะเดินทางต่อไปได้ จึงได้นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ประดิษฐานไว้ตรงนั้นนั่นเอง พระเจ้าไชยเชษฐาครองเมืองเชียงใหม่ได้ไม่นาน พระบิดาก็สวรรคตจึงต้องเสด็จกลับมาเมืองหลวงพระบาง พระองค์ได้นำพระพุทธรูปสำคัญของเมืองเชียงใหม่ไปด้วย เช่น พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว และอีกหลายองค์ ซึ่งต่อมาพระพุทธรูปทุกองค์ได้คืนกลับมายังเมืองไทยหมด แต่พระเจ้าทองทิพย์ได้ค้างอยู่ในป่าเป็นเวลานานหลายร้อยปี พระเจ้าทองทิพย์มีพุทธลักษณะปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 80 ซม. สูง 120 ซม. เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ว่า ถ้าใครต้องการมีบุตรให้มาบนขอ
ในเส้นทางผ่านไปวัดมีโรงงานผลิตไวน์รสดี ชื่อเชียงรายไวน์เนอรี่ ผลิตไวน์ขาวลิ้นจี่ ลาซองเต้ที่ใช้เลี้ยงรับรองการประชุมเอเปค และไวน์อื่นๆ อีกหลายชนิด โทร. 053-950257-8 นอกจากนี้ในเส้นทางผ่านไป ยังมีสถานที่น่าสนใจอีก เช่น เขื่อนแม่สรวย หัตถกรรมของเล่นเด็ก ทำจากไม้ไผ่ท่านผู้เฒ่าที่หมู่บ้านป่าแดด กิจกรรมล่องแพลำน้ำแม่ลาว และโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ซึ่งเป็นโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

                      
ที่มา
http://watprachaotongthip.blogspot.com/
http://chiangraiekkachai.com/travel-place-details-94.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น