วัดประจำเมืองเก่า
ในช่วงสมัยของอาณาจักรโยนก
วัดร้างแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสุดขีด
สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่สำคัญและประจำกรุงเก่าแห่งนี้ จะเห็นได้
ว่าพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาที่ขุดค้นพบแห่งนี้ถูกสร้างและฝังอยู่ใต้พระพุทธ
รูปองค์ใหญ่ (พระประธาน) ปิดบังซ่อนเร้นกลัวถูกโจรกรรมจากพวกนิยมสะสมของเก่า
ที่ตั้งของวัดพระธาตุผาเงา
วัดพระธาตุผาเงาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 743 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเล็กๆ ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจันและมาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ แต่ก่อนชาวบ้านเรียกดอยลูกนี้ว่า “ดอยคำ” แต่ต่อมาช่วงหลังๆ ชาวบ้านเรียกว่า “ดอยจัน”
วัดพระธาตุผาเงาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 743 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเล็กๆ ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจันและมาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ แต่ก่อนชาวบ้านเรียกดอยลูกนี้ว่า “ดอยคำ” แต่ต่อมาช่วงหลังๆ ชาวบ้านเรียกว่า “ดอยจัน”
พระธาตุโบราณ 3 องค์
เนินเขาข้างล่าง เป็นที่ตั้งของพระธาตุผาเงา ที่สร้างไว้บนหินก้อนใหญ่ ถัดจากนั้นสูงขึ้นไป 300 เมตร เป็นซากเจดีย์ สูงประมาณ 5 เมตร ชาวบ้านเรียกว่าพระธาตุจอมจัน ส่วนที่สูงที่สุดของเนินเป็นที่ตั้งของซากเจดีย์อีกองค์หนึ่ง สูงประมาณ 5 เมตรเช่นกัน ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุเจ็ดยอด ต่อมาทางวัดได้สร้างพระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ครอบองค์พระธาตุเจดีย์เดิมไว้ แต่ก็ยังสามารถมองเห็นซากของพระเจดีย์เจ็ดยอดได้ ณ ภายในพระเจดีย์องค์ใหม่นี้ สรุปแล้วในวัดนี้มีเจดีย์โบราณสร้างไว้ในอดีตถึง 3 องค์ คือ
เนินเขาข้างล่าง เป็นที่ตั้งของพระธาตุผาเงา ที่สร้างไว้บนหินก้อนใหญ่ ถัดจากนั้นสูงขึ้นไป 300 เมตร เป็นซากเจดีย์ สูงประมาณ 5 เมตร ชาวบ้านเรียกว่าพระธาตุจอมจัน ส่วนที่สูงที่สุดของเนินเป็นที่ตั้งของซากเจดีย์อีกองค์หนึ่ง สูงประมาณ 5 เมตรเช่นกัน ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุเจ็ดยอด ต่อมาทางวัดได้สร้างพระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ครอบองค์พระธาตุเจดีย์เดิมไว้ แต่ก็ยังสามารถมองเห็นซากของพระเจดีย์เจ็ดยอดได้ ณ ภายในพระเจดีย์องค์ใหม่นี้ สรุปแล้วในวัดนี้มีเจดีย์โบราณสร้างไว้ในอดีตถึง 3 องค์ คือ
1.พระธาตุผาเงา (ล่างสุด)
2.พระธาตุจอมจัน (อยู่ระหว่างกลาง)
3.พระธาตุเจ็ดยอด (บนสุด)
ผู้สร้างพระธาตุผาเงา
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19782
จากพงศาวดารโยนกบอกว่า
ขุนผาพิงหรือขุนพิง (พระองค์พิง) ผู้ครองนครโยนก องค์ที่ 23 ช่วงปี พ.ศ. 494-512 เป็นผู้สร้างเจดีย์ไว้บนหินก้อนใหญ่ที่เชิงเขาดอยจันทร์
ซึ่งเข้าใจว่าหมายถึงพระธาตุผาเงาในวัดนี้ พระธาตุผาเงาได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก
คาดว่าน่าจะมีการบูรณะมาบ้าง เพราะพระธาตุองค์นี้ตั้งอยู่ที่ลาดต่ำสุดของภูเขา ซึ่งง่ายต่อการดูแลซ่อมแซม
ผู้สร้างพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด
ต่อมาภายหลัง
เมื่อขุนลังได้ขึ้นครองเมือง "เวียงเปิกสา" (เมืองเชียงแสนปัจจุบันนี้) ช่วงปี พ.ศ. 996-1007 พระองค์ได้ชักชวนไพร่บ้านชาวเมืองทั้งหลายให้ช่วยกันสร้างเจดีย์ไว้บนยอดดอยคำ
ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าตอดจันทร์
เจดีย์ที่ว่านี้หมายถึงพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด เจดีย์ทั้ง 2 องค์นี้ถูกภัยธรรมชาติทำลาย
เช่นถุกแดด-ฝนและลมพัดทำลายมานับพันปีจนเหลือแต่ซากฐานไว้ประมาณ 5 เมตร
ประกอบกับช่วยนั้นภาวะเศรษฐกิจอาจจะฝืดเคืองจนทำให้ชาวบ้านทอดทิ้งศาสนาขาดการดูแลเอาใจใส่และที่ฐานองค์พระเจดีย์ทั้งสองก็มีรอยขุดเจาะ
อาจจะเป็นฝีมือของพวกนักสะสมของเก่าเสาะแสวงหาโบราณวัตถุก็เป็นได้
ชื่อของวัดพระธาตุผาเงา
ชื่อของวัดนี้มาจากชื่อของพระธาตุผาเงา
ที่ตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่าผาเงาคือ เงาของก้อนผา (ก้อนหิน)
หินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์และให้ร่มเงาได้ดีมาก
ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า "พระธาตุผาเงา" ความจริงก่อนที่จะย้ายวัดมาที่นี่ เดิมมีชื่อว่า "วัดสบคำ" ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง
ฝั่งน้ำได้พังทลายลง ทำให้บริเวณของวัดพังลงใต้น้ำโขงเกือบหมดวัด คณะศรัทธา
จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขา ซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม
การสร้างวัดใหม่
ตอนแรกได้สันนิฐานว่าบริเวณเนินเขาเล็กๆ
ลูกนี้ ที่กำลังแผ้วถางอยู่นี้จะต้องเป็นวัดเก่าแน่
เพราะได้พบซากโบราณวัตถุกลาดเกลื่อนไปทั่วบริเวณ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2519
จึงได้ลงมือแผ้วถางป่า แต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำเรียกว่า "ถ้ำผาเงา"
ปากถ้ำถูกปิดไว้นาน
ทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารกชัฎเต็มไปด้วยซากโบราณวัตถุกระจัดกระจายอยู่กลาดเกลื่อนเต็มไปหมด
มีชิ้นส่วนใหญ่อยู่ชิ้นหนึ่งเป็นพระพุทธรูปครึ่งองค์ ช่วงล่างหน้าตักกว้าง 4 วา
เชื่อว่าเป็นพระประธานในวิหาร คณะศรัทธาจึงตั้งใจบูรณะปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์เหมือนเดิม
ค้นพบพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา
วันที่
17 มีนาคม 2519 เวลา 14.00 น. เมื่อคณะศรัทธาได้ปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว
ทุกคนต่างตื่นเต้นและปิติยินดี เมื่อได้พบว่าใต้ตอไม้นั้น (หน้าฐานพระประธาน)
มีอิฐโบราณก่อเรียงไว้ เมื่อยกอิฐออกก็พบหน้ากาก (แผ่นทึบ) ก่อกั้นไว้
เมื่อเอาหน้ากากออก จึงได้พบพระพุทธรูปที่มีลักษณะสวยงามมาก
ผู้เชี่ยวชาญโบราณวัตถุ วิเคราะห์ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุระหว่าง700-1,300 ปี คณะทั้งหมดจึงได้พร้อมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อผาเงา" และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดพระธาตุผาเงา"ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19782
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น