วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัดพระแก้ว

อยู่ใจกลางเมืองเชียงราย ที่ถนนไตรรัตน์ เป็นที่ค้นพบพระแก้วมรกตหรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๗๙ ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นเจ้าเมืองครองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่าเจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออกจึงได้พบว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือพระแก้วมรกตนั่นเอง ปัจจุบันวัดนี้เป็นที่ประดิษฐาน "พระหยก" ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในวาระครบ ๙๐ พรรษา ของสมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนี

ประวัติ

ได้ถูกจารึกไว้บนแผ่นทองเหลืองภายในวัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังนี้ (เฉพาะภาษาไทย)
"ประวัติวัดพระแก้ว วัดพระแก้ว แต่เดิมชื่อวัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๗ (ค.ศ.๑๔๓๔) ฟ้าผ่าพระเจดีย์จึงได้พบพระแก้วมรกต (ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง) ชาวเมืองเชียงรายจึงได้เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดพระแก้ว" จนกระทั่งปัจจุบัน
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี "

ประวัติพระแก้วมรกต

ได้ถูกจารึกไว้บนแผ่นทองเหลืองภายในวัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังนี้ (เฉพาะภาษาไทย)
"ตำนานรัตนพิมพ์วงศ์ กล่าวไว้ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 300 เทวดาได้สร้างพระแก้วมรกต ถวายพระนาคเสนเถระที่เมืองปาฎลีบุตร (ปัจจุบันเรียก ปัตนะ) ประเทศอินเดีย ต่อมาได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองลังกา
ในสมัยพระเจ้าอโนรธามังฉ่อ (พระเจ้าอนุรุทธะ) แห่งเมืองพุกามได้ส่งพระสมณทูตไปขอจากเจ้าเมืองลังกา ซึ่งถูกพวกทมิฬรุกราน จึงมอบพระแก้วมรกต และพระไตรปิฏกให้ แต่สำเภาที่บรรทุกพัดหลงไปเกยอยู่ที่อ่าวเมืองกัมพูชา พระแก้ วมรกตจึงตกเป็นของกัมพูชา และต่อมาได้ถูกนำไปไว้ ที่เมืองอินทาปัฐ(นครวัด) กรุงศรีอยุธยา และกำแพงเพชร ตามลำดับ
เมื่อประมาณพ.ศ. 1933 พระเจ้ามหาพรหม เจ้าเมืองเชียงราย ได้ไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาจากเมืองกำแพงเพชร และนำมาซ่อนไว้ที่เจดีย์วัดป่าเยียะ เมืองเชียงราย กระทั่ง พ.ศ. 1977 อสนึบาต (ฟ้าผ่า)เจดีย์ จึงได้ค้นพบพระแก้วมรกต ต่อมาได้ถูกอัญเชิญไปไว้เมืองต่างๆ ดังนี้เมืองเชียงราย พ.ศ. 1934-1979
เมืองลำปาง พ.ศ. 1979-2011
เมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2011-2096
เมืองลาว พ.ศ. 2096-2321
กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2321-ปัจจุบัน"

พระอุโบสถ


พระประธานในอุโบสถเป็นพระวิหารทรงเชียงแสน มีลักษณะฐานเตี้ย เชิงหลังคาลาดต่ำ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2433 มีขนาดกว้าง 9.50 เมตร ยาว 21.85 เมตร ต่อมาได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2495
ชื่อพระเจ้าล้านทอง ชื่อนี้ได้มาเพราะเดิมเป็นของวัดล้านทอง ซึ่งต่อมาวัดถูกรื้อทิ้งไป จึงถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดดอยงำเมือง หรือดอยงามเมือง ก่อนจะมาเป็นพระประธานที่วัดพระแก้วเมื่อปี 2504 เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงจากฐานถึงพระรัสมี 2.80 เมตร รอบพระเศียร 1.60 เมตร นั่งขัดสมาธิราบ ยอดพระศกเป็นดอกบัวตูมอยู่ในเปลวเพลิง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือรายพระถัน เม็ดพระศกใหญ่ พระหนุ(คาง)เป็นปมใหญ่และชัดมาก นับเป็นพระพุทธรูปในสกุลช่างศิปปาละที่ใหญ่ และสวยงามที่สุดในประเทศไทยพระเจดีย์
เป็นพระเจดีย์ฐานรูปแปดเหลี่ยมแต่ละเหลี่ยมกว้าง 5.20 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 9.50 เมตร ห่อหุ้มทองแผ่นทองแดง ลงรักปิดทองทั้งองค์ กรมศลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนองค์พระเจดีย์ เป็น โบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478

หอพระหยก

เป็นอาคาร ค.ส.ล. ทรงล้านนาโบราณประกอบด้วยไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล" หรือ "พระหยกเชียงราย" แปลว่า "พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นอากรแห่งรัตน เป็นมงคลอนุสรณ์ 90 พรรษา" เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี บนผนังอาคาร แสดงกิจกรรม จากตำนานพระแก้วมรกต และภาพวาดการสร้าง และพิธีอัญเชิญพระหยกเชียงรายสู่พระอารามในวันที่ 19 ตุลาคม 2534

พระพุทธรูปหยก


โฮงหลวงแสงแก้วสร้างด้วยหยกจากประเทศแคนาดา (มร.ฮูเวิร์ด โล ผู้บริจาค) ขนาดหน้าตักกว้าง 47.9 ซม. สูง 65.9 ซม. เนื่องในมหามงคลสมัย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา ในปี 2534 จังหวัดเชียงรายได้จัดสร้างพระพุทธรูปหยก แกะสลักโดยโรงงานหยกวาลินนาน มหานครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน พระพุทธรูปหยกองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นองค์แทนพระแก้วมรกตองค์จริง ที่ได้ถูกอัญเชิญไป
เป็นอาคารทรงล้านนาประยุกต์ เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงพระพุทธรูปสำคัญ เช่นพระพุทธสิหิงค์ (จำลอง) รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบที่ทันสมัย

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.paiduaykan.com/province/north/chiangrai/watprakaew.html
http://www.watphrakaew-chiangrai.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น