บ้านหล่อชา ตั้งอยู่ริมถนนสายท่าตอน-แม่จัน
จากลานทองวิลเลจ เลี้ยวซ้ายตามทางหลวงหมายเลข 1089 แม่จัน-ท่าตอน
จนถึงสามแยกกิ่วสะไตระหว่างหลัก กม.54-55 ผ่านป้อมตำรวจแล้วตรงไปอีกประมาณ
1 กม.สังเกตหมู่บ้านจะอยู่ทางซ้ายมือ “อาข่า”
เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าหนึ่งที่อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศจีน
ลงมาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว
มักเรียนกตนเองว่า “อาข่า”
ในขณะที่คนไทยเรียกว่า“ก้อ” หรือ “อีก้อ”
ซึ่งชาวอาข่าจะไม่ค่อยชอบเท่าใดนัก
การแต่งกายของชนเผ่านี้มักเป็นผ้าฝ้ายทอย้อมเป็นสีเข้มเกือบดำ
โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีเครื่องประดับมากมาย เช่น หมวกมักประดับด้วยเครื่องเงิน
เหรียญเงิน มากน้อยตามฐานะ
สลับด้วยพู่สีแดงสดใสสวมเสื้อแขนตรงกระโปรงสั้นเหนือเข่า
มีผ้าคาดเอวและปลอกน่องที่มีสีสัน ส่วนอาข่าผู้ชายมักจะสวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าหน้า
กางเกงขาก๊วยไม่มีการตกแต่ง ในบางโอกาสจะใช้ผ้าโพกหัวสีดำ
อาข่า มีความเชื่อในวิญญาญและธรรมชาติ
เพราะไม่ปรากฏว่ามีการนับถือศาสนามาก่อน แต่มี “บัญญัติอาข่า”
ซึ่งหมายรวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี และการดำเนินชีวิตต่างๆ
โดยเน้นหลักการเคารพบูชาบรรชนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีความเชื่อด้านภูติผี วิญญาญ
จึงมักมีพิธีเช่นบรรพบุรุษและภูติผีเป็นประจำ ตัวอย่างความเชื่อเหล่านี้จะเห็นได้ชัดเจนที่หมู่บ้านของอาข่าแต่ละที่
จะพบประตูเข้าหมู่บ้านที่เรียกว่า “ประตูผี” เชื่อว่าเป็นการแบ่งเขตแดนระหว่างผีกับคนจนกลายเป็นธรรมเนียมที่ทุกหมู่บ้านต้องสร้างประตูนี้
พวกที่เคร่งไสยศาสตร์เมื่อจะเข้า-ออกหมู่บ้านต้องผ่านประตูนี้เท่านั้น
ถือว่าเป็นการล้างมลทินภูติผีที่ติดตัวมาจากข้างนอก
ผู้ที่ผ่านไปมาไม่ควรไปแตะต้องประตูหรือสิ่งของใดๆที่ประตูนี้ทั้งสิ้น
โครงการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม
เป็นอีกโครงการหนึ่งที่สนับสนุนโดย สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
(พีดีเอ-เชียงราย)จัดตั้งขึ้นเป็นโครงการนำล่อง
ก่อนที่จะเผยแพร่การพัฒนาแบเดียวกันนี้สู่หมู่บ้านชาวอาข่าเผ่าอื่นๆต่อไป
นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีการดำเนินชีวิตประจำตัวตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า
ซึ่งนับว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจมากอีกโครงการหนึ่ง **อัตราค่าเข้าชม
เพียงคนละ 40 บาท เท่านั้น
เทศกาลประเพณีโล้ชิงช้า
ของชาวอาข่า
ตำนานการโล้ชิงข้า ของชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่าได้เล่าถึงประเพณีการโล้ชิงช้าว่า เกิดขึ้นในสมัยที่อาข่าได้ตั้งถิ่นฐานที่มณฑลยูนนานทางแถบตอนใต้ของประเทศจีน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2000 ปีเศษ ซึ่งตามตำนานนั้น น่าจะเป็นอาณาบริเวณเมือง “คุณหมิง” ในปัจจุบัน การบอกเล่าของชาวอาข่าจะใช้ภาษาเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า ดินแดนของ “จาแด” ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอาข่า เป็นตำนานการเล่าขานที่ยังไม่ปรากฏชัดว่าเกิดขึ้นในสมัยใด แต่ในบทเพลงที่ขาวอาข่าร้องช่วงมีเทศกาลนั้นปรากฏว่าเทศกาลโล้ชิงช้าเป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นจากผู้หญิงเป็นผู้เริ่มโดยกำหนดประเพณีโล้ชิงช้าในเดือน “ฉ่อลาบาลา” ตรงกับปลายเดือนสิงหาคม-ถึงต้นเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งจากตำนานได้เล่าว่า ผู้นำในสมัยนั้น นึกอยากจะแกล้วให้คนจนประสบความทุกข์ยากลำบาก จึงได้มีกำหนดพิธีการโล้ชิงช้าเป็นเวลา 33 วัน ซึ่งช่วงเวลาที่มีพิธีกรรมนั้น ประสงค์อยากให้คนจนอดตายเพราะโดยปกติเวลาที่มีพิธีกรรมห้ามทำมาหากินเมื่อเป็นเช่นนี้ คนจนจึงได้ตระเตรียมผลไม้เผือกมันที่มีอยู่ในป่าเอามาเก็บไว้ในบ้านเป็นจำนวนมาก ส่วนคนรวยก็เตรียมเช่นกัน เพื่อที่จะมีไว้บริโภคในช่วงเทศกาลโล้ชิงช้า เมื่อเริ่มพิธีกรรมได้ระยะหนึ่ง พวกคนรวยที่เตรียมข้าวสารไว้บริโภคนั้นเริ่มหมดก่อน ส่วนคนจนยังมีพอจะกินเพราะเตรียมไว้มาก ดังนั้นคนรวยที่คิดจะแกล้ง คนจนให้อดตายนั้นไม่เป็นตามที่คาดไว้ ดังบทเพลงโล้ชิงช้าจะมีอยู่ตอนหนึ่งว่า “คิดอยากจะโลชิงช้า คนรวยจะตายก่อน" ด้วยเหตุนึ้จึงได้ย่นพิธีกรรมจัดเทศกาลโลชิงช้ามาเป็นเวลา 4 วัน ดังปัจจุบันซึ่งถือเอาวันที่ว่างและมีฝนตกมากมาจัดพิธีกรรม อาข่าเรียกเทศกาลโล้ชิงช้านี้ว่า “แย้ ขู่ จ๋า เออ” แปลว่า “กินในหน้าฝน” ดังนั้นการจัดพิธีโลชิงช้าจึงจัดเพื่อเป็นการฉลองให้กับพืชผล ที่มีความเจริญงอกงามและรอการเก็บเกี่ยว ตลอดจขนการรำลึกและให้เกียรติกับสตรี การจัดการประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอาข่าจะเริ่มในวันความโดยส่วนใหญ่เพราะถือว่าเป็นวันฤกษ์ดีโดยมีกำหนด 4 วัน มีขั้นตอนพิธีกรรมดังนี้
ตำนานการโล้ชิงข้า ของชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่าได้เล่าถึงประเพณีการโล้ชิงช้าว่า เกิดขึ้นในสมัยที่อาข่าได้ตั้งถิ่นฐานที่มณฑลยูนนานทางแถบตอนใต้ของประเทศจีน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2000 ปีเศษ ซึ่งตามตำนานนั้น น่าจะเป็นอาณาบริเวณเมือง “คุณหมิง” ในปัจจุบัน การบอกเล่าของชาวอาข่าจะใช้ภาษาเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า ดินแดนของ “จาแด” ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอาข่า เป็นตำนานการเล่าขานที่ยังไม่ปรากฏชัดว่าเกิดขึ้นในสมัยใด แต่ในบทเพลงที่ขาวอาข่าร้องช่วงมีเทศกาลนั้นปรากฏว่าเทศกาลโล้ชิงช้าเป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นจากผู้หญิงเป็นผู้เริ่มโดยกำหนดประเพณีโล้ชิงช้าในเดือน “ฉ่อลาบาลา” ตรงกับปลายเดือนสิงหาคม-ถึงต้นเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งจากตำนานได้เล่าว่า ผู้นำในสมัยนั้น นึกอยากจะแกล้วให้คนจนประสบความทุกข์ยากลำบาก จึงได้มีกำหนดพิธีการโล้ชิงช้าเป็นเวลา 33 วัน ซึ่งช่วงเวลาที่มีพิธีกรรมนั้น ประสงค์อยากให้คนจนอดตายเพราะโดยปกติเวลาที่มีพิธีกรรมห้ามทำมาหากินเมื่อเป็นเช่นนี้ คนจนจึงได้ตระเตรียมผลไม้เผือกมันที่มีอยู่ในป่าเอามาเก็บไว้ในบ้านเป็นจำนวนมาก ส่วนคนรวยก็เตรียมเช่นกัน เพื่อที่จะมีไว้บริโภคในช่วงเทศกาลโล้ชิงช้า เมื่อเริ่มพิธีกรรมได้ระยะหนึ่ง พวกคนรวยที่เตรียมข้าวสารไว้บริโภคนั้นเริ่มหมดก่อน ส่วนคนจนยังมีพอจะกินเพราะเตรียมไว้มาก ดังนั้นคนรวยที่คิดจะแกล้ง คนจนให้อดตายนั้นไม่เป็นตามที่คาดไว้ ดังบทเพลงโล้ชิงช้าจะมีอยู่ตอนหนึ่งว่า “คิดอยากจะโลชิงช้า คนรวยจะตายก่อน" ด้วยเหตุนึ้จึงได้ย่นพิธีกรรมจัดเทศกาลโลชิงช้ามาเป็นเวลา 4 วัน ดังปัจจุบันซึ่งถือเอาวันที่ว่างและมีฝนตกมากมาจัดพิธีกรรม อาข่าเรียกเทศกาลโล้ชิงช้านี้ว่า “แย้ ขู่ จ๋า เออ” แปลว่า “กินในหน้าฝน” ดังนั้นการจัดพิธีโลชิงช้าจึงจัดเพื่อเป็นการฉลองให้กับพืชผล ที่มีความเจริญงอกงามและรอการเก็บเกี่ยว ตลอดจขนการรำลึกและให้เกียรติกับสตรี การจัดการประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอาข่าจะเริ่มในวันความโดยส่วนใหญ่เพราะถือว่าเป็นวันฤกษ์ดีโดยมีกำหนด 4 วัน มีขั้นตอนพิธีกรรมดังนี้
วันที่ 1 ตามปกติโดยส่วนใหญ่
วันแรกของการเริ่มเทศกาลนั้นจะตรงกับวันของอาข่าคือ "วันควาย"
ซึ่งจะเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
ในวันแรกการทำพิธีกรรมจะประกอบด้วยเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ดังนี้
- ไก่ขนสีดำหรือสีแดง จะเป็นเพศผู้หรือเพศเมียก็ได้จำนวน 1 ตัว ยกเว้นขนสีขาวห้ามมาใช้ในพิธีกรรมเพราะอาข่าถือว่าไม่บริสุทธิ์
- ข้าเหนียวดำ (ข้าวปุก)อาข่าเรียกว่า “ห่อ-ถ่อง”
- เหล้า ที่ใช้ในพิธีกรรม ชาวอาข่าเรียกว่า “จี้ป่าจี้จุ” โดยใส่กระบอกไม้ไผ่เล็กๆ ซึ่งถือว่าเป็นเหล้าบริสุทธิ์
- ใบชากับขิง ใส่รวมกัน ชาวอาข่าเรียกว่า “แซ ถ่อง หละ แพ้” เพื่อใช้แทนเป็นน้ำชา
- ข้าวเหนียวบริสุทธิ์ ชาวอาข่าเรียกว่า “ห่อซ้อ”
- อุปกรณ์ขันโตก / ถ้วย / จอกน้ำ พิธีกรรมเซ่นไหว้จะจัดในช่วงเวลา 11.00 น.-12.00 น.ตอนกลางคืนจะเต้นรำพื้นบ้านจนถึงเวลา 24.00 น.
- ไก่ขนสีดำหรือสีแดง จะเป็นเพศผู้หรือเพศเมียก็ได้จำนวน 1 ตัว ยกเว้นขนสีขาวห้ามมาใช้ในพิธีกรรมเพราะอาข่าถือว่าไม่บริสุทธิ์
- ข้าเหนียวดำ (ข้าวปุก)อาข่าเรียกว่า “ห่อ-ถ่อง”
- เหล้า ที่ใช้ในพิธีกรรม ชาวอาข่าเรียกว่า “จี้ป่าจี้จุ” โดยใส่กระบอกไม้ไผ่เล็กๆ ซึ่งถือว่าเป็นเหล้าบริสุทธิ์
- ใบชากับขิง ใส่รวมกัน ชาวอาข่าเรียกว่า “แซ ถ่อง หละ แพ้” เพื่อใช้แทนเป็นน้ำชา
- ข้าวเหนียวบริสุทธิ์ ชาวอาข่าเรียกว่า “ห่อซ้อ”
- อุปกรณ์ขันโตก / ถ้วย / จอกน้ำ พิธีกรรมเซ่นไหว้จะจัดในช่วงเวลา 11.00 น.-12.00 น.ตอนกลางคืนจะเต้นรำพื้นบ้านจนถึงเวลา 24.00 น.
วันที่ 2 ตรงกับวันเสือ(ข่า
หล้า)วันนี้เป็นวันสร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชน โดยทุกครัวเรือนจะมารวมกันที่บ้านของผู้นำจื่อมะแล้วไปสร้างชิงช้า
โดยต่างคนต่างทำหน้าที่ช่วยกันหาต้นไม้สี่ต้นเพื่อมาสร้างเสาชิงช้า
และเครือสะบ้าเพื่อมาทำเป็นเชือกในการโล้ เมื่อสร้างชิงช้าเสร็จ
จื่อมะถือว่าเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมของชุมชน
จะทำพิธีโล้โดยก่อนจะทำการโล้จะใส่สิ่งของ 3 สิ่งคือ หิน หญ้าเจ้าชู้
และเครือหนาม อันมีความหมายว่า หินหมายถึง ความหนักแน่น ความเข้มแข็งของคนและชุมชน
หญ้าเจ้าชู้ หมายถึง การแพร่พันธุ์ของคนและผลิตผลต่างๆและเครือหนาม หมายถึง
การป้องกันภัยอันตรายที่ไม่ให้เกิดในชุมชน โดยมัดรวมกันแล้วแกว่งโล้ 3 ครั้ง จากนั้นก็จะให้จื่อมะโล้เป็นคนแรก ถือว่าเป็นการเปิดพิธีการโล้
เสร็จแล้วจากนั้นคนอื่นๆ จึงจะโล้ได้
ตอนเย็นจะมีการกระทุ้งกระบอกไม้ใผ่โดยคนหนุ่มสาวจะเต้นรำพื้นบ้านตลอดทั้งคืน
วันที่3 ตรงกับวันลา (ถ่อง ลา
) ถือว่าเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ มีการประกอบพิธีเซ่นไหว้ตั้งแต่เช้ามืดโดยใช้เครื่องเซ่นไหว้เหมือนวันแรก
ยกเว้นจะไม่มีไก่ในการเซ่นไหว้เท่านั้น ส่วนอื่นๆจะเหมือนเดิม
การเซ่นไหว้ของวันนี้จะทำในตอนเช้า ไม่ใช่ตอนเที่ยงเหมือนวันแรก
เมื่อทำพิธีกรรมเซ่นไหว้ในช่วงเช้าเสร็จแล้วชุมชนจะมีการฆ่าหมูหรือสัตว์ใหญ่ เช่น
วัว ควาย เพื่อมาใช้บริโภค
ถือว่าเป็นวันที่ชุมชนมีการเลี้ยงฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ตอนกลางคือจะเต้นรำพื้นบ้าน
จนถึงเวลา 24.00 น.
วันที่ 4
ตรงกับวันกระต่าย (หล่อง) วันนี้เป็นวันสุดท้ายของเทศกาลโล้ชิงช้า
ซึ่งจะมีกิจกรรมโล้ลิงช้าเป็นหลัก เมื่อตกตอนเย็น จื่อมะ ผู้นำวัฒนธรรมจะเป็นผู้ทำการปิดการโล้ชิงช้าของปีนั้นจนกว่าจะเวียนบรรจบครบรอบอีกหนหนึ่งถึงจะโล้ชิงช้าได้
ที่มา
http://www.tourdoi.com/north/chiangrai/page4.htm
http://www.hilltribe.org/thai/activity/study-tours.php
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wisdominside&month=03-2012&date=09&group=7&gblog=117
http://www.tourdoi.com/north/chiangrai/page4.htm
http://www.hilltribe.org/thai/activity/study-tours.php
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wisdominside&month=03-2012&date=09&group=7&gblog=117
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น